หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) - นิติศาสตร์แนวพุทธ

 https://www.watnyanaves.net/en/book-full-text/234

https://youtu.be/MfskhLJP_10?si=6A4AMaXVZxKPN5I3



สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) - ชาวพุทธควรวางใจอย่างไร เมื่อมีข่าวไม่ดีในวงการสงฆ์ "

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) - ชาวพุทธควรวางใจอย่างไร เมื่อมีข่าวไม่ดีในวงการสงฆ์ "

          https://youtu.be/_YTGAmB4zYI?si=7SKACWZkgmtET2lF

เวลานี้ก็ มีเหตุการณ์ที่เป็นข่าวคราวเรื่องในวงการพระสงฆ์ ซึ่งอาจจะทำให้ญาติโยม ไม่สาบายใจ แล้วก็ข้องจิต ขัดใจอยู่ ทำให้ขัดขวางแม้แต่การ ฟังธรรมด้วย ฉะนั้นก็เลยมาทำให้สว่างโล่งไปเสียก่อน

คือเรื่องเหตุการณ์ความไม่ดีไม่งาม อะไรที่เกิดขึ้นในวงการพระสงฆ์เนี่ยะ ก็เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชน จะต้องรู้เข้าใจ ให้ปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง ว่าที่จริงแล้วก็ ถือว่าเป็นปัญหา ปัญหานั้นเป็นเครื่องฝึกใจ แล้วเป็นเครื่องลับปัญญา เพราะฉะนั้นเมื่อเราใช้ให้เป็น เราก็พลิก แทนที่จะให้มันทำร้ายเรา เราก็กลับมาใช้ประโยชน์

อย่างเช่นเรื่องในวงการพระสงฆ์เวลาเนี่ยะ ถ้าเรามองด้วยปัญญา ในแง่หนึ่ง อาตมาเคยเขียนหนังสือมา หลายเรื่อง หลายครั้งแล้ว เรื่องประเภทเนี๊ยะเคยเกิดขึ้นมา ไม่ใช่ครั้งเดียวหรอก หลายท่านที่อายุมากๆก็ได้ผ่านเหตุการณ์พวกนี้มา เลวร้าย ก็ทำไง? แง่หนึ่งที่จะมองก็บอกว่า พระสงฆ์นี้ถือว่า จะเรียกว่า ใช้ภาษาฝรั่งเรียกว่าเป็น cream (หัวกะทิ - ผู้ถอดความ)ของสังคม ในแง่ของคุณธรรมจริยธรรม เอ๊อ แล้วถ้าสังคมของไทยเราเนี่ยะ แม้แต่ส่วนที่ถือว่าเป็นcream สุดยอดดีเนี่ยะ ยังแย่ขนาดนี้ แล้วสังคมไทยส่วนใหญ่จะไปถึงไหนแล้ว?

อันนี้กลายเป็นเครื่องเตือนเรานะ ว่าอย่าได้ประมาท ให้มาตรวจสอบตัวเองดู แล้วตื่นขึ้นมาเสีย เราอาจจะตกอยู่ในความประมาทมานาแล้ว สังคมไทยนี่ อาจจะฟอนเฟะ หรืออะไรไปอย่างรุนแรงแล้ว มันจะถึงขนาดนี้ มาถึงส่วนที่เป็นcreamนี่ มันแย่ไปด้วย  มันฟ้องแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าได้นอนใจ อย่ามัวถกเถียงกันว่า ว่างั้นว่างี้ โทษคนนั้นคนนี้ มาดูสังคมของตัวเองแล้วรีบ ตื่นขึ้นมา ลุกขึ้นมา รีบหาทางแก้ไขกัน นี่แหละเป็นจุดที่ ๑ ที่ว่าจะให้เรา ตื่นตัวไม่ประมาท

แล้วก็มองว่า คนไทยทุกคน พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท ทั้งหมดเนี่ยะ เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา เป็นเจ้าของวัดวาอาราม พระพุทธศาสนาวัดวาอาราม ไม่ใช่เป็นของพระองค์ไหน แน่นอน เป็นของชาติของแผ่นดินทั้งหมด ฉะนั้นเรามีส่วนร่วมรับผิดชอบทุกคน ที่ต้องแก้ไข แล้วทำไมเราปล่อยอย่างนี้ล่ะ? ไอ้ที่มีเหตุร้ายอย่างนี้เกิดขึ้นน่ะ เพราะว่าชาวพุทธคนไทยเนี่ยะ ปล่อยปละละเลยหรือเปล่า? ตกอยู่ในความประมาท

สำรวจตัวเองให้ดีก็จะเห็นว่า มันเป็นอย่างนั้นด้วย อาตมาอยากจะเท้าความ แม้แต่ตั้งแต่เสียกรุง หมายถึงกรุงอยุธยาน่ะ ที่ถูกเผาเนี่ยะ แล้วดเรากู้ชาติ กู้แผ่นดินมาเนี่ยะ จนกระทั่งบัดนี้ เรายังไม่ได้ฟื้นตัวเท่าที่ควรเลยนะ ยังไม่ไปถึงไหน เพราะฉะนั้น ตื่นขึ้นมา แล้วก็ รีบสำรวจตัวเอง ลุกขึ้นมา ก้าวหน้าเดินต่อไป ตั้งตัวตั้งหลักให้ดี มันจึงจะไปได้

แล้วการที่จะดู แก้ปัญหาด้วยปัญญาเนี่ยะ ก็ถือว่า ๑) ก็ดูสภาพตัวเองอย่างที่ว่าเนี่ยะ แล้ว ๒) ก็สืบสาวเหตุปัจจัย การแก้ไขปัญหาแม้แต่ดูว่าปัญหามันเกิดมายังไง? ก็เกิดจากเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดปัญหา แล้วจะแก้ไขยังไงก็ ต้องไปแก้ไขที่เหตุปัจจัยนั้นแหละ แล้วตอนนี้เหตุปัจจัยอะไร? ทางฝ่ายพระ ทางฝ่ายบ้านเมือง ทางฝ่ายประชาชน เนี๊ยะ มันมีเหตุกันทั้งนั้นแหละ

ทุกฝ่ายทำเหตุ เพราะฉะนั้นไปวิเคราะห์แยกแยะให้ดี เราก็จะเห็น แล้วเมื่อเห็นเหตุปัจจัยแล้ว เราก็เห็นทางแก้ไข เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ฝากไว้ว่า อย่ามัวไปโศกเศร้าเสียใจ ทำใจไม่สบายว้าวุ่นขุ่นหมองใจ จะไปทางเหี่ยวแห้งหดหู่ หรือจะไปทางฟุ้งซ่าน ไม่พอใจวุ่นวายใจ อะไรก็ตาม ไม่เอาทั้งนั้น เอาอยู่ในความสงบหนักแน่น แล้วก็ให้ใจเนี่ยะ เป็นที่ทำงานอย่างดี เป็นที่ทำงานมีคุณภาพ สำหรับให้ปัญญามาทำงานอย่างได้ผล ฉะนั้น ต้องแยกอันนี้ให้ถูก

ใจเป็นที่ทำงานของปัญญา เรื่องอย่างนี้มาใจไม่ต้องยุ่ง ยกให้ปัญญา ปัญญาจัดการ แล้วก็ใจเราก็คอยตามดูด้วยความสบายใจว่า เอ้อ มันก้าวหน้าไป รู้ปัญหา รู้ปัจจัย เราก็สบายใจขึ้นแล้ว ใจมีแต่เรื่องต้องรับให้มันดี ไม่งั้นใจขุ่นมัวเศร้าหมอง ปัญญาก็พลอยทำงานไม่ได้ผลไปด้วย

เอาละ อันนี้ฝากไว้ ก็ขอให้โยมทุกท่าน ในโล่งโปร่งสบายซะ ไม่ต้องไปขุ่นมัวเศร้าหมองกับเรื่องนี้.

https://youtu.be/_YTGAmB4zYI?si=s8zrcqIydZU0XrCI

พระอาจารย์ชยสาโร - ไม่ฝึกก็เสื่อม

พระอาจารย์ชยสาโร - ไม่ฝึกก็เสื่อม

พระธรรมเทศนา เรื่อง 'ไม่ฝึกก็เสื่อม' ปฏิบัติธรรมบ้านบุญ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๘

          https://www.youtube.com/live/4K_lHTZpj18?si=pqWUlSXuO9J0grgV

          จุดวิกฤติในอารยธรรมตะวันตกเมื่อ ๑๐๐ ปี แล้ว เกิดขึ้น ในเมื่อฮิตเลอร์ขึ้นอำนาจในเยอรมัน ขึ้นอำนาจได้อำนาจตามหลักประชาธิปไตยน่ะ ไม่ใช่ว่าเป็นปฏิวัติเป็นกบถ ก่อนหน้านั้นประเทศเยอรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่เจริญที่สุดในยุโรป พร้อมกับอังกฤษ แต่มองทางด้านปรัชญา ศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม เยอรมันอาจจะเจริญมากกว่าอังกฤษ ด้วยซ้ำไป แต่ภายในไม่กี่ปีเยอรมันก็กลายเป็นประเทศโหดร้าย โดยเฉพาะในเรื่องของการสังหารคนยิว ๖ ล้านกว่าคน ก็ทำสิ่งที่น่าเกลียดน่าสยดสยองอย่างนึกไม่ถึง ว่ามันจะเป็นไปได้และประเทศหนึ่งจะเปลี่ยนได้เร็วขนาดนั้น แต่สิ่งที่น่าตกใจนี้ก็คือ คนที่ทำความโหดร้ายต่างๆหลายกรณีนั้น ไม่ใช่เป็นพวกโรคจิต เป็นชาวบ้าน เป็นคนธรรมดา ซึ่งทำให้ปัญญาชนชาวตะวันตกจำนวนหนึ่ง กลับมาทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา รวมทั้งเรื่องศาสนา วัฒนธรรมต่างๆว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? เป็นจุด จะว่าเป็นจุดวิกฤติ เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่ทำให้ปัญญาชนตะวันตก จำนวนไม่น้อยเลย ที่หันมาหาคำตอบในอารยธรรม ในศาสนาของตะวันออก

          และในกระแสนี้อาตมาเป็นผู้ที่ค่อยเข้าเมื่อเวลาผ่านไป ๒๐ กว่าปี ๓๐ ปี จุดแรกในระลอกแรก มันจะเป็น จะมีชาวอเมริกัน ที่ไปอยู่ญี่ปุ่น หลังสงครามโลกที่ ๒ จบลงไปแล้ว แต่เรียนรู้เรื่องพุทธทางเซน เซนก็เลยเป็นที่นิยม เป็นแฟชั่นในอเมริกา เมื่อ ๗๐ - ๘๐ ปีที่แล้ว ต่อมาเมื่อจะมีสงครามเวียตนาม ความสนใจของโลกก็หันมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คงจะมีมาทางไทยทางพม่า แค่ที่คนนิยมที่สุดก็อินเดีย ไปกันเยอะ

          แต่บทสรุปที่ได้ ที่อาตมาได้ก็คือ ความ ความไม่เบียดเบียน หรือความไม่คิดที่จะเบียดเบียน และการใช้ชีวิตอย่างไม่เบียดเบียนใคร ถ้ามองคนร้อยคนนะ อันนี้ก็คิดง่ายๆว่า สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร? สักสิบคนในร้อย จะดีจนได้ ไม่เบียดเบียนใคร แล้วก็จะมีน้อยกว่าสิบคนในร้อยซึ่งสิ่งแวดล้อมเป็นยังไง ก็จะมีความยินดีในการเบียดเบียน แต่ ๗๐ หรือ ๘๐ คน ใน ๑๐๐ คน อ่อนแอ จะไปตามกระแส ถ้าสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดี เอื้อต่อการรักษากฎหกมาย เอื้อต่อการอยู่ด้วยกันอย่างสันติ คนส่วนใหญ่ก็ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติ แต่ศีลมันไม่ได้อยู่ในใจ เป็นปลาอยู่ในน้ำ พอสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ศีลไม่มีในตัว ก็มีแต่การทำตามกฎหมาย ทำตามกฎระเบียบต่างๆ โดยไม่ได้คิดอะไร

เมื่อทำความชั่วได้ โดยที่ เอ่อ ไม่มีใครตำหนิ ไม่มีใครจับได้ ไม่ต้องกลัวติดคุกติดตาราง ปรากฏว่าง่ายกว่าที่คิด กลายเป็นเรื่องปกติ เรื่องนี้มันสอนว่าอย่างไร? หนึ่ง สำหรับอาตมา ข้อที่แรก ข้อแรกก็คือ จะต้องมีวินัย จะต้องมีกฎหมาย และจะต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำดี เพื่อให้คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่มี จิตใจยังไม่เข้มแข็ง ก็จะไม่ทำบาปทำกรรมมาก และเพื่อเป็นกำลังใจ กับผู้ที่มุ่งมั่นต่อคุณงามความดี สนับสนุนคนดี แล้วก็จะมีการป้องกันและการลงโทษ หรือการจัดการในทางที่ถูกต้องกับผู้ที่ยังๆก็ต้องทำความชั่วจนได้

แต่นอกจากนั้นแล้ว เราก็ยังจะต้อง สร้างวัฒนธรรมที่คนมีอุดมการณ์ มีความต้องการที่จะฝึกตน ให้มีศีลแท้ เกิดขึ้นในใจ จนกระทั่งยืนยันได้ว่า ถึงแม้ว่า อยู่ในที่ทำความชั่วได้โดยไม่ต้อง อ่า ไม่ต้องรับผิดชอบได้เลย อาจจะยังได้รับการยกย่อง ว่าเป็นผู้รักชาติก็ได้ ฉันก็ไม่ทำ

ก็อะไรคือคุณธรรม ที่จะเป็นเครื่องรับประกันในเรื่อวงนี้ ก็หิริโอตัปปะ1นั่นเอง ที่เรียกว่าความละอายต่อบาป ความเกรงกลัวต่อบาป ทีนี้คำว่า บาป ให้เข้าใจความหมายของคำว่า บาป บาปก็คือ กรรมไม่ดี คือการกระทำ

1https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

ที่ไม่ดี ความละอายก็คือ ละอายต่อการกระทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา ทางใจ รู้สึกว่าการทำอย่างนั้นมันน่าละอาย ฉะนั้นมันจึงเป็นความรู้สึกที่ต้องเกิดขึ้นภายใน มันไม่ใช่ว่าจะ มันจะฝังอยู่ในกฎระเบียบ กฎหมายบ้านเมือง มันทำไม่ได้ แล้วก็จะต้อวงมีความเกรงกลัวต่อ การทำ การพูด การคิด ในสิ่งที่ไม่ดี

          ทั้งนี้ ความละอายและความเกรงกลัว เป็นความรู้สึก แต่มันเกิดจากปัญญา แต่เมืองไทยนี่เมื่อเรา เอ่อ พยายาม จะเป็นเมืองพุทธ ถือว่าเราควรจะให้น้ำหนักกับปัญญา ปัญญาที่เห็นชัดเลยว่า ทำไมการเบียดเบียน โดยกาย โดยวาจา โดยใจ น่าละอาย เพราะอะไร? และ ทำไมการกระทำที่เป็นการเบียดเบียน การทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่สมควรนั้น มันน่ากลัว?  

          ต้องมีการศึกษา แล้วจะต้องมีการดู ในการดูภายใน นี้แหละสำคัญที่สุด เพราะกฏแห่งกรรมถ้าเป็นกฏแห่งกรรมข้ามภพ ข้ามชาติ เราก็รับไว้เหมือนเป็นสมมติฐาน รับไว้ด้วยความไว้วางใจ ในมหาปัญญาธิคุณของพระอริยะ เอ่อ ของพระพุทธเจ้าเลย และพระอริยะเจ้าทั้งหลายได้ยอมรับว่าเรามองไม่เห็น แต่กรรมในความหมาย ในเชิง ในช่วงสั้นๆ คือความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำไปด้วยเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ กับผล ที่เกิดขึ้น นั้นเป็นสิ่งที่เราศึกษาได้ และเมื่อเราเห็นความสัมพันธ์ชัดเจนว่า ถ้าทำอย่างนี้ พูดอย่างนี้ คิดแอย่างนี้ มันก็เกิดผลร้ายอย่างนี้ อย่างนี้ ความรู้สึก ละอายก็จะเกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องบังคับ มันเองเป็นผลของการดู ผลการรู้ วิถีชีวิต วิถีของจิต วิถีของกายของใจ ดูได้ และก็สมควรจะดู ถ้าไม่ภาวนานี่มันไม่รู้ไม่เห็น

และอาตมาออกบวชมาเมืองไทย อาตมา คือก่อนมาเมืองไทย พระที่รู้จักก็เฉพาะพระสายหลวงปู่ชา โดยมีกลวงพ่อสุเมโธ เป็น อ่า เป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้นำ ตอนนั้นมีความเข้าใจว่า พระคือ ผู้ที่ออกจากเรือน เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นผู้ทรงศีล อะไรเนี่ยะ คือรักง่ายๆอย่างนี้ แล้วก็เข้าใจ เราเองว่า ใครครองผ้าเกลืองก็ต้องเป็นอย่างนั้น ทั้งนั้น ไม่อย่างนั้นจะบวชพระทำไม?

แต่มาเมืองไทย งงเลย เอ๊ ทำไมเป็นอย่างนี้? คือไม่ใช่ว่าเจอพระที่ ไม่มีฉันทะ มีความมุ่งมั่นต่อมรรคผลนิพพานแล้ว ก็เชื่อว่าพระส่วนมากส่วนใหญ่ ไม่ภาวนา ไม่...ไม่ภาวนา ก็คือ ไม่คิดจะฝึกตน คือการภาวนาก็คือเรื่องของการฝึกกาย ฝึกวาจา ฝึกใจ ในขั้นละเอียด แล้วอาตมาก็งงอยู่เหมือนกัน เอ๊ะ ท่านอยู่ได้ยังไง? ในเรื่องมี อ่า ออกจาก ออกจากเรือนแล้ว แล้วถ้าไม่มีคุณธรรมอยู่ในใจ ไม่ฝึกจิต ให้มีสติ ให้มีความอดทน ให้มีปัญญา ให้มีหิริให้มีโอตัปปะ อะไรเป็นต้น เป็นเครื่องป้องกัน แล้วเมื่อเจอเรื่อง แล้วที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่านั้น ไม่รักษาพระวินัยด้วย ก็เลยสงสัยว่า เอ๊ อยู่ได้อย่างไร ในเมื่อมีการกดดัน หรือมีสิ่งยั่วยุ กิเลส ท่านเอาตัวรอดได้ยังไง?

เพราะสิ่งที่จะช่วยให้พระเป็นพระที่ดี และเป็นพระในรูปแบบที่ เรียกว่าเหมาะสม ถูกต้องนั้น ก็มีวินัย กับการฝึกตน ส่วนที่จริงวินัยก็ ส่วนหนึ่งของการฝึกตนอยู่ดี ก็เป็นการฝึกกาย ฝึกวาจา พุทธศาสนา ไม่ว่าเป็นพระ เป็นโยม ถือว่า อยู่ด้วยการฝึกตน พุทธองค์ก็ตรัสยืนยันไว้บ่อยๆว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐได้ ด้วยการฝึกตน เราฝึกตนได้ และควรจะฝึกตน แต่ถ้าไม่ฝึกตน ก็มีแต่ความทุกข์ร่ำไป

  ฉะนั้นก็เป็นปัญหามานานมากแล้ว ว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ซึ่งนี้ว่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาตมาว่าในหลายด้านนี่ มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อืม แต่พระสงฆ์ที่ไม่รักษาพระวินัย หรือว่ารักษาวินัยเป็น อ่า เป็นบางข้อ แล้วที่ไม่มีการฝึกตน เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่แปลกใจว่า จะต้องมีความเสื่อม เกิดขึ้น ทีนี้ในเรื่องของวินัย สิกขาบทที่เป็นปัญหาตั้งแต่พุทธองค์ปรินิพพานใหม่ๆ ก็เรื่องเงินเรื่องทอง มีพระเถียงกันเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยนู่นเลย 2,000 กว่าปีว่า มันลำบากเกินไป มันยาก มันไม่จำเป็นแล้ว อะไรเนี่ยะ คือจะมีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเถรวาทกับมหายาน จะต่างกันนะ ในมหายาน ถ้าเป็นวินัย มีอะไรที่ไม่สะดวก บอก ก็ยกเลิกไปเลย อ่า ปรับเปลี่ยน ไม่ใช่ว่าตามกิเลสเสมอไป บางทีเป็นการตอบสนอง ของความเปลี่ยนแปลงในสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เหมือนในประเทศอินเดีย เป็นต้น

แต่เถรวาทมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งว่า เราถือหลักที่ว่า เราจะไม่ยกเลิกสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เป็นอันขาด และเราจะไม่บัญญัติสิกขาบทใหม่ คือเถรวาทถือว่าเป็นสายอนุรักษนิยม เราจะไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อความสะดวกในการเผยแผ่ เราถือว่าหน้าที่ของเรา เราก็รักษาของเก่าเอาไว้ ของเก่ามันดีแล้ว แต่ถ้าพระที่ไปอยู่จีน ไปอยู่เกาหลี ไป เอ้อ น่าจะดีนะอินเดีย แต่ที่นี่มันไม่ไหวนะ มันไม่ได้ จะยกตัวอย่างเรื่องบิณฑบาต ในอินเดีย เรื่องพระหรือสมณะ ออกจากเรือน แล้วอาศัยบิณฑบาต อาศัยน้ำใจของญาติโยม ในเรื่องของปัจจัย ๔ เป็นที่ยอมรับของชาวอินเดียตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ และทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่ยอมรับ ของชาวอินเดีย พระ พุทธเราเดินเข้าไปในหมู่บ้านไหน ในประเทศอินเดีย เค้าไม่รู้จักเรา รู้ไม่จักเป็นสายไหนนิกายไหน ศาสนาไหน แต่เค้าเห็นเราเป็นสมณะ ชาวบ้านก็จะใส่บาตร ชาวบ้านจะดูแล ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ ไม่ต้องคิด นี่คือความหมายของคำว่าวัฒนธรรม สิ่งที่ทำโดยไม่ต้องคิด ก็แน่นอนแล้ว ชัดเจนละ ต้องดูแล

แต่ประเทศจีนไม่เป็นอย่างนั้น ประเทศจีนก็ถือว่า ถ้าไม่ทำงานก็ไม่ต้องกินหรอก ไอ้การนั่งหลับตา ไม่ทำอะไรช่วยสังคม น่ะ เราจะ อ่า ให้คนอื่นดูแลทำไม? อันนี้สรุปให้ง่ายๆ อ่า แต่ว่าในอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อหรือของเก่าของจีนเค้าเป็นอย่างนั้น แล้วนานๆเข้าในการออกบิณบาตรในเมืองจีนเลยน้อยลง น้อยลง หายไปเลย วิถีชีวิตพระเปลี่ยนแปลง ไป พระต้องทำกับข้าวเอง ซื้อที่ ดูแลตัวเอง เพราะพระต้องดูแลตัวเองแล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น พระก็ปลูกข้าว ไอ้ ถ้ายังงั้นพระจะเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเลี้ยงหมู แล้วก็ฆ่าเพื่ออาหาร โอ๋ แน่นอน ไม่ต้องไปทำยังงั้น ฉะนั้นพระก็เริ่ม อ่า ทานเจ พระมหายานในจีนก็ฉันเจ เพราะก็ทำอาหารเอง ก็เลยเป็นสิ่งที่ตามมา มาตามเหตุตามผล แต่ในการที่พระต้องดูแลตัวเองมากขึ้น ความสัมพันธ์กับฆราวาส ความสัมพันธ์กับชาวบ้าน ก็ลดน้อยลง ก็มีการแยกออกจากสังคม มากกว่าในประเทศเถรวาท

นี่เป็นตัวอย่างที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิตของพระสงฆ์ในประเทศจีน โดยเป็นการค่อยปรับตามสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์บ้าง ทางวัฒนธรรมศาสนาบ้าง แค่ในเถรวาทบอกว่าเราไม่เปลี่ยน นี่คือของเรา ถ้าคุณสนใจเราก็ยินดีแบ่งปัน คุณไม่สนใจ ก็เรื่องของคุณ แต่เราก็จะไม่ปรับ ถ้ามีคน โอ๊ นี่อนัตตาน่ะ เข้าใจยาก ทำให้คนไม่...เอ่อ มันไม่ใช่ว่าเราจะประชุมมหาเถรสมาคม โอ๊ ไอ้เรื่องอนัตตานี่ไม่ได้แล้วนะ คนไม่เอาละ ยกเลิกดีมั๊ย? เอาคำสอนที่ง่ายกว่านี้หน่อย มันทำไม่ได้ เราก็มีหน้าที่รักษาของเก่าเอาไว้

แต่ว่า ในประวัติศาสตร์ อย่างที่เรารู้น่ะ มีพระที่ยังไม่พอใจกับวินัยหลายข้อ จะทำยังไง? เราจะยกเลิกไม่ได้ จะบัญญัติข้อใหม่ไม่ได้ จะทำยังไง? ตีความใหม่ ตีความของของเก่า ไปในทางที่ไม่ต้องรักษา นี่พูดตรงๆ แบบว่า เงินนี่รับไม่ได้ เอ้า ถ้าอยู่ในซอง ก็ไม่ได้จับสิฮะ เงินอยู่ในซองนะ อ้าว ก็อย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งก็มีอย่างนี้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือเราจะมีอรรถะ กับ พยัญชนะ ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะเป็น spirit and letter หมายถึงว่า มีทั้งทั้ง อ่า ถูกต้องตามตัวหนังสือและถูกต้องตามเจตนารมณ์ในการบัญญัติ ไปด้วย ไม่ใช่เอาแต่ตัวอักษรเป็นหลัก แต่ไม่ได้เอาเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก คือทำไมพระพุทธองค์ทำไว้อย่างนี้? มันก็เลย อ่า ไม่รักษาได้ โดยมีข้ออ้าง ในเถรวาทมีการไม่ทำตามพระวินัย ที่ไหนก็จะมีข้ออ้างพร้อมเลย อันนี้ก็จุดอ่อนของเรา 

ทีนี้เรื่องของการ...การปฏิบัติต่อเงิน ในพระวินัย พุทธองค์ก็ตรัสอย่างละเอียดมาก คือพุทธองค์อนุญาตให้ มีไวยาวัจกร2 เช่นว่า โยมอยากถวายเงิน พระรับไม่ได้ แต่เรามีไวยาวัจกรได้ อย่างสมมติโยมเปรมเป็นไวยาวัจกร ถ้าโยม ข้าพเจ้าขอถวายปัจจัย ๑๐๐ บาท อาตมาจะบอกว่า ฝากไว้กับโยมเปรมก็ได้ โยมเปรมเป็นไวยาวัจกร ไม่ได้ พูดอย่างนี้ไม่ได้ นั้นผิดนะ เพราะเราเป็นการสาง เหมือนเรามีอำนาจในการใช้เงิน เราไม่มีอำนาจ เราก็ว่า เนี่ยะ คนนี้เป็น  

2https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3

ไวยาวัจกร แต่บางทีก็ยอมรับนะ ว่าบางที หะหะ บางทีมันยากนะ คนก็ไม่รู้ว่าไวยาวัจกร หรือว่าคนนี้ เคาก็งง เพราะงั้น ภาษาไทยก็มีทางออก มีทางออกง่ายๆคือคำว่า “ได้” อืม ฝากไว้กับคนนี้ได้ ใช่มั้ย? คือไม่ใช่เป็นการสั่ง แต่มันเป็นการให้ทราบ ทางเลือก อื่อ บางทีก็จำเป็นนะ พยายามไม่พูดในบางที คนก็งง ไปต่างประเทศคนก็งง

          แต่สำคัญก็คือ โยม โยมสมบูรณ์ ก็ฝากปัจจัยไว้กับโยมเปรม ทีนี้อาตมาก็ยังถือว่า ๑๐๐ บาทนั้นเป็นเงินของโยมสมบูรณ์  ที่ฝากไว้กับโยมเปรม ไม่ใช่เงินของเรานะ เปรม อาตมาขาดแปรงสีฟัน สมมตินะ เปรมก็ ครับ เดี๋ยวผมจัดการ อย่าวนี้ แต่สมมติว่าเปรมเค้าคัดค้าน ท่านพระอาจารย์นี่ เพิ่งถวายแปรงสีฟันเมื่อเดือนที่แล้วเอง ของเก่าอยู่ที่ไหน? หึหึหึ ไม่ให้หรอก ท่านอาจารย์ต้องเป็นตัวอย่างในการใช้ของอย่างประหยัด ยังสั่งสอนเราด้วยอ่ะนะ ถ้าเวลาผ่านไปก็ยังยืนหยัดอยู่อย่างนั้น พระก็มีสิทธิสมบูรณ์ เอ้ ปัจจัยที่ฝากไว้กับเปรมเนี่ยะ ไม่ยอมจ่ายเลย เก็บไว้ จึงเป็นเรื่องระหว่างเปรมกับสมบูรณ์ ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่างนี้มัน คือรายละเอียดนี่มัน เอ่อ มันยาวมาก แต่ก็เป็นตัวอย่างที่พุทธองค์ ท่านก็บัญญัติไว้หมดแล้ว

          ทีนี้ เอ่อ การที่พระจะไม่ใช้เงินนะ มันก็จะต้องเป็นความร่วมมือระหว่างพระกับโยม และทุกๆคนก็ต้องเข้าใจหลักการ เพราะว่า หลายวัด อันนี้อาตมาก็เคยพูดอย่างนี้ หลายวัดทุกกวันนี้ผู้ พระน้อยก็รู้สึกว่า ถ้าไม่รับเงินนี้อยู่ไม่ได้ เพราะวัดไม่ดูแล บางวัดก็ยังเก็บค่าน้ำค่าไฟกับพระด้วยซ้ำไป ซึ่ง...เมื่อกี้นี้ตอนต้นเนี่ยะบอกว่า เราสร้างระบบที่เอื้อต่อการรักษากฎหมาย ถึงแม้วาญาติโยมก็ยังไม่มีศีลแท้ ยังมีกิเลสเยอะ กฎหมายบ้านเมือง ข้อตกลงในชุมชนก็ช่วยด้วย ช่วยในระดับหนึ่ง ทีนี้ถ้าเราต้องการให้พระรักษาวินัย เราต้องช่วยกันสร้างระบบที่เอื้อต่อการรักษาวินัย

          ในเรื่องของเงินน่ะ ทุกวันนี้ ระบบไม่เอื้อ ระบบเอื้อต่อการใช้เงินมากกว่าการไม่ใช้เงิน ซึ่งมันจะไปว่าเป็นความผิดของใคร? มันทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งพระทั้งโยม อาตมามีลูกศิษย์รูปหนึ่ง ท่านพระอเมริกัน ท่านเล่าว่า ท่านไปทำธุระที่กรุงเทพ ไปพักแถวลาดพร้าว ท่านออกบิณฑบาต โยมจะเอาเงินใส่บาตรท่าน ท่านไม่รับ โยมก็งงเลย ไม่เคยเจอในรชีวิตเลยก็เลยว่าเป็นฝรั่ง ว่า เอ้อ ท่านเป็นศาสนาอะไรอ่ะ? คิดว่าพระไม่รับเงิน ไม่น่าเป็นพุทธเลย มันถึงขนาดนั้นน่ะ มันถึงขั้นนั้นเลย

          ทีนี้ไอ้เรื่องของแต่งตัวเป็นพระออกบิณฑบาตน่ะ มีตลอดนะ คือบิณฑบาตในกรุงเทพนะหลายแห่งนะ บิณฑบาตชั่วโมงหนึ่งก็ได้เงินหลายร้อยนะ ถ้าคนมีกิเลสไม่กลัว ไม่กลัวบาปในการครองผ้าเหลือง เพื่อรับเงินน่ะ มันก็น่าสนใจนะ เราจะไปโทษเค้าอย่างเดียว ก็...เค้าก็น่าตำหนิ แต่ผู้ที่เอาเงินใส่บาตรนั้น ก็สนับสนุนพวกนี้ด้วยอาะนะ เพราะฉะนั้นหลายอย่างเราก็ต้องเปลี่ยน ผู้ครองผ้าเหลืองเนี่ยะ ก็มีกิเลส ท่านบวชเพื่อ เพราะต้องการจะหลุดพ้นจากกิเลส ไม่ใช่เพราะไม่มีกิเลส แต่ถ้าครองผ้าเหลืองแล้ว ไม่มีความเพียร พระไม่มีความฝึกตน ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ นานๆเข้า ไอ้กะลาภนี่ก็เพิ่มมากขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความหลง ก็มีมากขึ้น ทีนี้ถ้าพระฝึกตั้งแต่ต้น พออายุพรรษามากขึ้นแล้ว ถ้าสิ่งเหล่านี้มา ก็มีอาวุธ มีความพร้อมที่จะอยู่ท่ามกลางโลกธรรม อยู่ท่ามกลางสิ่งที่คนให้ความเคารพนับถืออะไรต่างๆได้ เพราะมีการ มีภูมิคุ้มกัน แต่พระที่ไม่ปฏิบัตินี่ ไม่มีภูมิคุ้มกัน

          ภูมิคุ้มกันก็ ๑) วินัย อันนี้เรื่องของ “นารีพิฆาต” อะไรต่างเนี่ยะ อาตมาก็พูดตั้งแต่อยู่วัดนานาชาติสมัยก่อนแล้ว วินัยนี่เหมือนกำแพง ๗ ชั้น ชั้นในสุดก็คือ ปาราชิก3 ภายนอกนี่เป็นพวกทุกกฏ อาบัติเล็กน้อย แล้วก็มี ปาจิตตีย์เป็นชั้นๆไป ถ้าเรารักษาชั้นนอก ชั้นในก็ไม่ต้องเป็นห่วง

            3https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81

          * อาบัติทุกกฏ (Tukkata) ในพระวินัยสงฆ์หมายถึง อาบัติเล็กน้อยที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ผิดวินัย แต่ไม่ร้ายแรงเท่ากับอาบัติประเภทอื่นๆ เช่น ปาราชิก หรือ สังฆาทิเสส อาบัติทุกกูฏมีหลายประเภท เช่น การพูดที่ไม่เหมาะสม การกระทำที่ไม่สุภาพ หรือการไม่ปฏิบัติตามข้อห้ามบางประการ 

           ผู้หญิงจะไปทำอะไรพระ เอ่อ อย่างเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าพระรักษาวินัย ถ้าพระไม่รักษาวินัยเมื่อไหร่ อันตรายทันที ฉะนั้นจะไปโทษผู้หญิงฝ่ายเดียวนี่ไม่ได้ มันต้องผิดทั้ง ๒ ฝ่าย ผิดฝ่ายเดียวนี่มันเหมือน เหมือนกับงูกัดคน งูมันชั่ว อ้าว ถ้าคน ถ้าเป็นงูอสรพิษ เข้าไปใกล้ทำไม? ไปเหยียบมันทำไม? ไปยุ่งกับมันทำไม? มันก็...มันก็เป็นอย่างงี้แหละ ฉะนั้นกิเลส กิเลสก็เรื่องกาม เรื่องเกียรติ เรื่องอำนาจ อะไรพวกเนี้ยะ มันเป็นสิ่งที่พระเราต้องฝึก ตั้งแต่อุปสมบทใหม่ๆ ไม่งั้นพอถึงขั้นที่เป็น เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะ มีสมณศักดิ์แล้ว มันสายเสียแล้ว

          อยู่ที่การฝึกตน ที่จริงเรื่อง...เรื่องนี้มันไม่ได้ มันไม่ได้ยากมาก ถ้ามีความศรัทธาจริงๆ แต่ว่าเมื่อเราปล่อยให้ระบบ เป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการอยู่อย่างสำรวม ไม่เอื้อต่อความมีสติ ไม่เอื้อต่อการฝึกตน กิเลสกำเริบ ที่พระถ้าพรรษาใหม่ๆนี่ ก็อยู่ด้วยความศรัทธาแรงกล้า ศรัทธาแรงกล้านี่พอจะบ่มกิเลสได้บ้าง แต่พออายุมากขึ้น ศรัทธาไม่อยู่แล้ว มันชินแล้ว กิเลสก็เริ่มกลับมาใหม่ ไอ้ความสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ จะประมาณในการบริโภค ในการฝึกจิตให้ตื่น เป็นผู้ที่มีความพอใจ มีความสุขในการฝึกตน แล้วจะเป็นผู้ที่อยู่ได้ เอาตัวรอดได้

          พระอยู่ใน อ่า อริยะวงศ์ เรียกว่าเป็นผู้ที่มีความสันโดษ มีความพอใจ กับเสื้อผ้า กับผ้าจีวร กับอาหารบิณฑบาต กับที่อยู่อาศัย ตามที่ญาติโยมถวาย

          และข้อที่ ๔) น่าสนใจ เป็นผู้ที่มีความสุข มีความพอใจในการลดกิเลส ในการละกิเลส ในการบำเพ็ญกุศล ทุกๆคนต้องการความสุขแน่นอน มันอยู่ที่ว่าเราฉลาดพอมั้ยที่จะ ได้รับความสุขจากสิ่งที่ดี? คือมันเป็นการเปลี่ยนกระแส ทุกคนก็ต้องการความสุข มันอยู่ที่ว่าเราจะหาความสุขที่ไหน ถ้าพระนี่มีความสุขในการเป็นสมณะ  มีความสุขในการเห็นกิเลสอ่อนลงๆ มีความสุขในการเห็นคุณธรรมเพิ่มขึ้นๆ มีความภาคภูมิใจในการสร้างประโยชน์ ต่อแสวงประโยชน์ และค่อยมีโอกาสสร้างประโยชน์ส่วนร่วม ตัวเองก็มีความสุข สามารถให้ความสุขกับคนอื่นได้มากขึ้น

          ถ้านี่คือจุดที่เรารู้สึกภูมิใจในชีวิต มีความสุขในการที่เป็นผู้เจริญตามรอยของพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีส่วนในการสืบอายุแห่งของพระบรมพุทธศาสนา ไอ้การจะหาความสุขที่อื่นเนี่ยะ มีโอกาสน้อยลงมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นพระจะเป็นโยม สมาธิช่วยได้มากที่สุด  ก็เป็นที่รู้กันว่า ในการถกเถียงกัน เรื่องสมาธิ มันจะมีว่า โอ๊ เรื่องสมถะ วิปัสสนา เป็นนั้นเป็นนี้ ถกกันไปถกกันมา แต่ที่อาตมาว่าชัดเจนมาก ว่าสิ่งที่จะระงับ หรือที่จะลดความต้องการในกาม ในรูปเสียงกลิ่นรสมากที่สุดก็คือ สมาธิ

          ฉะนั้นจะใช้วิปัสสนาดูเกิดดับดูอะไร ก็ดู...ดีมาก ควรจะทำ แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนความรู้สึกอย่างเห็นได้ชัดเลย ต่อสิ่งที่เคยให้ความสุขความเพลิดกับเรา นี่คือสมาธิ เมื่อเราจิตเป็นสมาธิ ความสุขเป็นอาการเป็นปกติ คือไม่ใช่เป็นความสุขที่เกิดจากการเสพ หรือการสัมผัส แต่ว่าเป็นความสุขที่เป็นเอกลักษณ์ จะเป็นธรรมชาติ ของจิตที่ไม่มีกิเลส ชั่วคราว ถ้าเป็นการบรรลุธรรมแล้ว มันเป็นถาวรเลย แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้น ถ้าฝึกสมาธิ เป็นที่พึ่ง เราก็เรียกว่า ความรู้สึกกระวนกระวาย หรือรู้สึกขาดอะไรสักอย่าง ก็รู้สึกว่าต้องการสิ่งตื่นเต้น ต้องการอะไรสัก...เนี่ยะ มันจะหายไป จิตใจจะมั่นคงเพราะมีที่พึ่ง เรื่องนี้ไม่ต้องบวชเป็นพระหรอก โยมก็ทำได้ เพียงแต่ว่าเห็นความสำคัญ แล้วแบ่งเวลาในแต่ละวัน รู้จักจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆในชีวิตให้ดีกว่านี้หน่อย อ้า เรื่องของการทำสมาธิ ก็หาเวลาไม่ยาก...ยากนักหรอก เพราะยังไม่ศรัทธา ยัวงไม่เห็นความสำคัญ ยังไม่เห็นความจำเป็น จึงไม่ค่อยมีเวลา

          ดังนั้น เรื่องของพระธรรมคำสั่วงสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นอมตะ ไม่ว่าชาวอินเดีย ชาวตะวันตก ชาวตะวันออก ไม่ว่าสมัยพุทธกาล สมัยไหน สมัยนี้ อนาคต ต้องถูกต้อง ตรงเป๊ะเหมือนเดิม เพราะอะไร? เป็นเรื่องของกาย ใจ ของมนุษย์ แล้วมนุษย์เราไม่เปลี่ยน จิตใจของมนุษย์เราไม่เปลี่ยน ความโลภความโกรธความหลงของคน ทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศ ทุกทวีป เหมือนกันหมด และความไม่โลภไม่โกรธไม่หลง เหมือนกันหมด

ธรรมจึงเป็น ซึ่งเป็นอมตะ อกาลิโก แต่เราต้องปฏิบัติให้เข้าถึง ทุกวันนี้เราเสื่อมจากพระธรรม เสื่อมจากพระวินัย กันมาก แล้วสิ่งที่น่า...สิ่งที่น่าเสียดายว่า ผู้ที่มีบุญ ที่ได้เกิดในประเทศอันสมควร ในประเทศไทย มีบุญ ที่ได้อุปสมบทในพุทธศาสนา มีบุญที่ได้อยู่ในผ้าเหลือง ๑๐-๒๐ ปี ทิ้ง ทิ้งอย่างเหมือนเป็นผ้าขี้ริ้ว สงสารท่านมาก ท่านอาจจะไม่กลัว แต่เราที่ศึกษาเข้าใจ  เรื่องกฎแห่งกรรม กลัวแทน อันนี้ ความเป็นพุทธศาสนา เป็นสิ่งล้ำค่า เราต้องช่วยกันรักษา ไม่ต้องนั่งโกรธ นั่งเกลียด นั่งวิพากษ์วิจารณ์ อันนั้นก็เป็นการเบียดเบียนจิตใจตัวเอง ปล่อยใจให้ไปวิตกกังวลเรื่องอนาคต ของพระศาสนา อะไรนั้นก็เป็น ไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็คือ พยายามทำจิตให้เป็นกลาง

อะไรเป็นเหตุปัจจัยของความเสื่อม? ทำอย่างไรเราถึงจะได้ระงับได้? ในการระงับความเสื่อมในพุทธศาสนา ส่วนไหนเป็นเรื่องของสงฆ์? ส่วนไหนเป็นเรื่องของฆราวาส? ตรงไหนที่เป็นทั้งสงฆ์และฆราวาส? ต้องช่วยกัน อะไรเป็นเหตุปัจจัยของความเจริญ?  อะไรเป็นสิ่งที่พระต้องทำเอง? อะไรเป็นสิ่งที่โยมก็ต้องทำ? อะไรเป็นสิ่งพระและโยมต้องทำด้วยกัน? แล้วคิดอย่างนี้ ที่จริงสถาบันสงฆ์นี่ยังมีอะไรดีๆเยอะมาก แต่ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า มีปัญหา ดังนั้นก็ต้องช่วยกัน ช่วยกันแก้ปัญหา

เอาละวันนี้ ก็คงพอสมควร.

...สาธุ... นสิ่งปำ           

          https://www.youtube.com/live/4K_lHTZpj18?si=tEFcS94w17EP6kcx

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

อลัน วัตต์ส - สิ่งนี้จะค้นพบคุณที่เวลาอันถูกต้อง

อลัน วัตต์ส - สิ่งนี้จะค้นพบคุณที่เวลาอันถูกต้อง

Alan Watts: this will find you at the right time

          https://youtu.be/_wIdUa7dEVA?si=pRT3BF7qrRC6-A81



          อย่างแน่ชัดในหนทางเดียวกันเมื่อชีวอินทรีย์ของคุณเองคอยทำประโยชน์หน้าที่โดยปราศจากการดูเหมือนว่าจะมีอะไรให้ทำด้วยการทำมัน. กระบวนการนั่นดำเนินอยู่ต่อไปด้วยหนึ่งกระบวนการกับพฤติกรรมทั้งหมดกำลังไปรอบๆคุณของผู้คนอื่นๆ, ของธรรมชาติ, และของจักรวาลทั้งปวง. (In exactly the same way as your own organism keeps functioning without your apparently having anything to do with doing it. That process is continuous with one process with all the behavior going on around you of other people, of nature, and of the entire universe.)

          เมื่อคุณไตร่ตรองความอาจจะเป็นจริงนี้, คุณก็จะ, ผมพูด, เริ่มต้นที่จะได้รู้สึกถึงมัน. และก็มีจุดใคร่รู้ที่ เอ่อ แนวคิดหนึ่งเลื่อนไถลเข้ามาเหนือสู่การได้ความเขี่ยวชาญของการรู้สึกได้อย่างแท้จริงถึงหนทางที่มันไป. มันอย่างแน่ชัดว่าเป็นสิ่งอะไรชนิดเดียวกัน, ดุงดังที่ได้อารมณ์รู้สึกของ สายลมในการแล่นเรือใบ, ที่คุณจำเป็นต้องการที่จะคอยให้ใยเรือตึงกระชับอยู่ต่อไป, ให้ผมจะบอกว่า, ในการแล่นเรือ. (As you contemplate this possibility, you shall, I say, begin to get the feel of it. And there is a curious point where a um concept slips over into getting a knack of actually feeling that’s the way it goes. It’s exactly the same sort of thing, as getting the feel of the wind in sailing, where you need to keep a certain tautness, shall I say, in the sail.)

          ในหนทางเดียวกันอีกในหลาย, มากมายทักษะทั้งหลายอื่นที่มาถึงจุดที่คุณได้การเชี่ยวชาญหนึ่ง. และที่ชั่วขณะของการได้ความเชี่ยวชาญนั้น, คุณมีความรู้สึกแปลก/น่าสงสัยใคร่รู้ขึ้นที่ซึ่งคุณกำลังทำคือทำด้วยตัวมันเอง. เมื่อคุณในคราแรกจดจำได้ถึงการขี่จักรยาน, คราที่คุณครั้งแรกได้ว่ายน้ำอย่างแท้จริง, เอ่อ คุณจำไม่ได้หรอกหรือถึงอารมณ์รู้สึกของอะไรในบางทีมันรกำลังทำเองมากกว่าที่ฉันกำลังทำมันในหนทางปกติ. มันได้บังเกิดขึ้นเองแล้ว. (It’s the same as in many, many other skills where comes a point of getting you there comes a point of getting a knack. And at every moment of getting the knack, you have the curious sensation that which you are doing is doing itself. When you first remember riding a bicycle, when you first actually swam, uh don’t you remember the feeling of somehow it is doing it rather than I am doing it in the ordinary way. It happened)

          คุณรู้, ดูสิแม่ ไม่ได้ใช้มือจับมันนะ, และเช่นนั้นด้วยความเคารพต่ออะไรที่ผมกำลังพูดถึงอยู่, มีอยู่จุดหนึ่งที่ซึ่งมันกลายเป็นกระจ่างแจ้งอย่างสมบูรณ์ต่อคุณว่าคุณไม่ได้เป็นบางอย่างซึ่งกำลังดิ้นรนต่อสู้กับทุกสิ่งอื่น หรือตกเป็นเหยื่อของทุกสิ่งอื่น. แต่ว่าเป็นอะไรที่กำลังดำเนินไปในไกลเหลือเกินเท่าที่คุณสามารถประสบรับรู้ได้, มันเป็นการทำของคุณเอง. (You know, look mama no hands, and so in respect to what I’m talking about, there is a point at which it becomes perfectly clear to you that you are not something struggling against everything else or being victimized by everything else. But that what is going on in so far as you can experience, it is your own doing.)

          แต่แล้วที่จุดนั่น, คุณก็รู้, คุณกลายเป็นมุมมองของโลกที่บ้าบอ. คุณกลายเป็นคตนบ้าบอของสวรรค์. โลกอาจจะถูกยึดครองแล้วมันก็เป็นบ้าตามขั้นมูลฐาน. บ้าบอ. ชีวิตพื้นฐานทั้งหมดเป็นชีวิตที่บ้าบอ. เพราะว่ามันไร้สาระ. เพราะว่านี่ไงลาะเรา, คุณก็รู้, เราคิดว่าเราสร้างสาระ/มีเหตุผล. (But then at that point, you see, you become from the world’s point of view crazy. You become a divine madman. The world may be taken then it be fundamentally mad. Crazy. All basic life is crazy life. Because it’s nonsense. Because here we are, you know, we think we make sense.)

          ผมกำลังพูดคุยเป็นภาษาอังกฤษต่อคุณและคุณก็เข้าใจในความหมายทั้งหลายของคำพูทั้งหลายของผม.  แต่ขอให้เราแค่ทิ้งสถานการณ์นี้ลงไปในบริบทอื่นอีกอันหนึ่ง, อะไรที่คือความหมายนั้นที่อผมกำลังพูดล่ะ? นี่นะ, เราทั้งหมดกำลังนั่งอยู่รอบๆที่นี่และคุณกำลังฟังต่อสัญญาณทั้งหลายเหล่านี้และคุณกำลังแปลความพวกมันเข้าไปในสัญญาณทั้งหลายของคุณเอง. (I’m talking English to you and you understand the meaning of my words. But let’s just drop this situation into another context, what is the meaning what I’m saying? See, we are all sitting around here and you are listening to these signals and you are interpreting them into signals of your own.)

          แต่มองดูที่สถานการณ์จากข้างบนสิ. ช่างเป็นการชุมนุมบ้าบอ. (But look at the situation from above. What a crazy assembly.)

          เพราะว่าอะไรที่เรากำลังทำชุมนุมกันที่นี่, ทำเสียงทั้งหลายอยู่ในการชุมนุมก็ไม่ได้แตกต่างจากอะไรที่ต้นไม้นี้กำลังทำออกมาในที่นี้ แผ่ยื่นกิ่งก้านของมันด้วยกิ่งไม้เล็กๆทั้งหมดเหล่านี้และสิ่งทั้งหลายยื่นทิ่มออกมา. (Because what we’re doing gathering here making noises is in assembly no different from what this tree is doing out here spreading out its branches with all these little twigs and things sticking out.)

          และอ้ายเสือนี่, อะไรที่มันกำลังทำอยู่? อื้อ, เอาละ, คุณพูดว่าถ้าเรามองที่มันจากมุมมองในเชิงปฏิบัติ, ใบไม้ทั้งหลานเหล่านี้มีจุดประสงค์หนึ่ง. และพวกเขาเพื่อที่จะดูดซับความชื้นและแสงอาทิตย์ และที่จะแบบว่าลงไปสู่ต้นไม้และช่วยเหลือท่อน้ำเลี้ยงเนื้อเยื่อที่จะเติบโตขึ้นมา. และ เอ่อ แล้วที่วัตถุที่ประสงค์แท้จริงของการนี้คือมันเจริญเติบโตบางชนิดของดอกไม้หรือกรวยดอก และนั่นได้รับการปฏิสนธิและเมล็ดเล็กก็มีอยู่ข้างในขึ้น.  (And my joe, what is it doing? Uh, well, you say if we look at it from a practical point of view, those leaves have a purpose. And they are to absorb moisture and sunlight and to sort of go down into the tree and help the sap to come up. And uh then the real object of this is that it grows some kind of flower or cone and that gets fertilized and little seeds inside.)

          และพวกเขาก็โผล่ออกมาและร่วงหล่นลงไปสู่พื้น และได้ปลิวออกไป และบางรายก็ถูกเก็บขึ้นมาโดยนกทั้งหลายและถูกแจกจ่ายกระจายออกไปและพวกเขาก็สร้างทำต้นไม้อื่นขึ้นมา.  คุณเห็นมั้ย, นั่นคือสิ่งนั้น. นั่นคืออะไรที่มันเป็นทั้งหมด. นั่นคือประโยชน์หน้าที่ที่สำคัญอย่างมาก, มาก. ตอนนี้, อย่างแท้จริงมันเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี.  (And they come out and fall on the ground and get blown about and some get picked up by birds and distributed and they make other trees. You see, that’s the thing. That’s what it’s all about. That’s very, very important function. Now, actually it’s sheer nonsense.)

          มันเป็นต้นไม้นี้ที่กำลังจะ “พิตูต้าตู. พิตูต้าตู.” และพวกเขาก็พูดว่า, “วู้วี้, นั่นไม่ใหญ่ยิ่งรึ?” คุณรู้มั้ย, เรามายืดขยายนี้ออกไปรอบๆและทำให้ทุกคนอื่นที่จะ “พิตูต้าตู. พิตูต้าตู.”ด้วยกัน. ไปเลย.  เอาละ, เรากำลังทำอย่างชัดเจนในสิ่งเดียวกัน.  (It’s this tree is going, “Pitutatoo. Pitutatoo,” And they say, “Wowee, isn’t that great?” You know, let’s spread this around and get everybody else going, “Pitutatoo, Pitutatoo.” Going. Well, we are doing exactly the same thing.)

          และเรื่องเดือดร้อนกับเราในฐานะผู้คอารยะคือเราไม่รู้จักมัน. เราคิดว่าเรากำลังเป็นที่จริงจัง. และนั่นคือเรา, คุณรู้มั้ย, มีโครงเรื่องหลักที่สำคัญอย่างยิ่งยวดกำลังดำเนินไป และนั่นเป็นความสำคัญสุดๆที่, ตัวอย่างเช่น, เผ่าพันธุ์มนุษย์ต้องอยู่รอด. และนั่นเราดำเนินต่อไปกับสิ่งยิ่งใหญ่นี้ที่เรียกว่าอารยธรรม, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียตรัสเซีย, อะไรก็ตามที่มันเป็นกัน.   (And the trouble with us as civilized people is we don’t know it. We think we’re being serious. And that we, you know, we have tremendously important schemes going on and that it’s desperately vital that, for example, the human race survive. And that we go on with this great thing called civilization, the United States of America, the USSR, whatever it is.)

          และเราคิด, นั่นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเราต้องทำ. แต่นั่นเป็นอะไรที่กำลังทำลายเรา. ไม่มีใครกำลังที่จะระเบิดโลกด้วยระเบิดปรมาณูเพื่อเห็นแก่ของพิตูต้าคู. พิตูต้าตู.  (And we think, that’s the great thing we have to do. But that’s what’s destroying us. Nobody is going to blow up the world with an atom bomb for the sake of Pitutatoo. Pitutatoo.)

          ชีวิตเป็นละครอันน่าสงสัยอันไร้ทิศทางคล้ายเมฆ, สายน้ำไหลเป็นมูลฐานนี้. และกระนั้น, ผมในบางโอกาสใช้คำว่า “เราควรจะเข้าใจ.” มีปัญหานั้นที่เมื่อคุณมองเห็นว่าโลกเป็นเช่นนี้, ว่าคุณเป็นหนึ่งเดียวทั้งหมดกับมัน และมันคือการทำของคุณ, แล้วคุณก็เข้าใจมันกระจ่างชัดในจิตของคุณ.  (Life is this fundamentally directionless um wondering cloud-like, river-drifting play. And yet, I occasionally use the word “We should understand.” There’s the problem that when you see that the world is like the this, that you’re all one with it and it’s your doing, then you get it absolutely clear in your mind.)

          มันที่กระจ่าวงชัดจริงแท้. แล้วคุณในมันมีมันโดยนั้นก็ต้องการที่จะอธิบายมันแก่ใครบางคนและคุณพบว่าไม่มีคำพูดทั้งหลายสำหรับมัน. มันเป็นแต่เพียงเมื่อคุณมองเห็นในประสบการณ์รับรู้ภายในของคุณเองเท้านั้น ที่มันอย่าง่ายๆไม่ได้สำคัญอะไรว่าอะไรสำคัญหรืออะไรที่ไม่สำคัญซึ่งนี่คือดนตรีแจ๊ซ.นแค็นแต่เพยง  (It is very clear indeed. Then you suddenly want to explain it to somebody and you find there are no words for it. It’s only when you see in your own inner experience that it simply doesn’t matter that what is important is what is unimportant which is the jazz.)

          และนั่นคือความสำคัญ.  ไม่ใช่ว่ามันควรจะดำเนินไป, แต่ในการกระทำดังกล่าว. ไม่, แต่เราจะต้องเอาจริงเอาจังและอะไรประเภททั้งหมดของสิ่งนั้นที่คุณเห็น. แต่นั่นไม่ได้ประสบสำเร็จมากนักนอกเสียจากความเดือดร้อน.  มันได้ผ่านพ้นการประยุกต์ใช้ความรู้และศึกษาและความเอาจริงเอาจังที่เรามีระเบิดปรมาณู.  (And that is important. Not that it should go on, but in the doing thereof. No, but we’ve got to be earnest and all that kind of thing you see. But that doesn’t really achieve much except trouble. It is through application and study and earnestness that we have the atom bomb.)

          คุณพูดว่า, “เอาละ, ทีนี้มองที่สิ่งทั้งหลายทั้งหมดที่เราได้เป็นผู้คนอารยะได้ประสบสำเร็จ. เอ่อ, เย้. แต่คุณเกือบจะระเบิดดาวเคราะห์นี้, ที่ดูเหมือนที่จะเป็นราคาของมัน.”  แต่นี่อีกครั้ง, ให้ผมขีดเส้นใต้ความจริงที่ผมกำลังพยายามและให้ผมทวนซ้ำในจุดนั้น. นั่นคือคุณไม่สามารถใช้สอยทักษะที่ไม่เป็นมิตร, ไม่มีเชิงเทคนิคการไม่ทำลายได้, จนกว่าคุณจะตระหนักโดยพื้นฐานว่าตัวคุณเองเป็นอาณาจักรทั้งปวงของธรรมชาตินี้. (You say, “Well, now look at all the things we as civilized people have achieved. Uh, yeah. But you’re about to blow up the planet, which seems to be the price of it.” But here again, let me underline the fact that I’m not trying to talk down technical skill, I’m only trying and let me repeat the point. That you cannot employ non-hostile, non-destructive technical skill, unless you realize basically that you yourself are this whole domain of nature.)

          นั่นคือคุณที่แท้จริง. คุณไม่ต้องต่อสู้เอากับธรรมชาติ, คุณไม่ได้ต้องพิชิตธรรมชาติ. คุณไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อพิชิตธรรมชาติเพราะว่าไม่มีอะไรที่จะต้องพิชิต. มันทั้งหมดคือคุณ. เมื่อเราพยายามที่จะอธิบายสิ่งหลายเหล่านี้, เราก็วิ่งเจอเข้ากับการโต้แย้งทั้งหลายสำหรับเหตุผลง่ายๆว่า เรากำลังพยายามที่จะอธิบายมัน. ที่จะเอามันเข้ามาในภาษาหนึ่งไม่ว่าอื่นใด ในการจำแนกแยกแยะในมันที่ซึ่งคุณจะพูด ไม่ว่าคุณจะพยายามหรือคุณไม่ได้พยามก็ตาม. ไม่ว่าคุณจะแล่อยให้สิ่งทั้งหลายไปอย่างที่พวกมันจะเป็นไป หรือว่าคุณทำบางอย่างเกี่ยวกับมัน.  (That’s the real you. You are not in a fight against nature. You’re not here to conquer nature because there’s nothing to conquer. It’s all you. When we try to explain these things, we run into contradictions for the simple reason that we are trying to explain it. To put it into a language with either or categories in it where you say either you try or you don’t try. Either you let things go as they will or you do something about it.)

ไม่ว่ามีบางอย่างที่คุณสามารถทำได้และเพราะเช่นนั้นคุณควรจะทำมันหรือไม่มีอะไรที่คุณสามารถทำได้และเพราะเช่นนั้นก็ไม่มีใครควรจะพูดว่าคุณควรจะทำมัน. เห็นมั้ย, ดูสิว่ามันได้อุตลุดยุ่งเหยิงขนาดไหนที่คุณได้มา. หะหะหะ.  (Either there is something you can do and therefore you should do it or there’s nothing you can do and therefore no one should say should. See, look how messed up you get. HA. Ha.)

แต่นั่นคืออะไรที่เป็นหนทางซึ่งความยากลำบากทั้งหลายเหล่านี้มาถึงที่ระดับของภาษาศาสตร์. ความยากลำบากทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้อุบัติขึ้นมาที่อะไรซึ่งผมจะเรียกว่าเป็นชั่วขณะทางวัตถุ หรือระดับความจริง. เพราะว่ามี, ที่ขอบเขตนั้น, คุณจะค้นพบตัวคุณเองกระทำการในหนทางที่ในหนทางมากมายมากปัญญายิ่งกว่าที่คุณกระทำเมื่อคุณตัดสินใจ. โลกอาจถูฏครอบครองในตอนนั้นที่จะเป็นบ้าโดยขั้นมูลฐาน, บ้าบอ. พื้นฐานชีวิตทั้งหมดของเราเป็นชีวิตบ้าบอ, เพราะว่ามันไร้สาระ.   (But that’s what the way these difficulties arrive at the linguistic level1. These difficulties are not arising at what I will call for the moment the material or the real level. Because there, at that domain, you will find yourself acting in a way that is in many ways more intelligent than you act when you make up your mind. The world may be taken then to be fundamentally mad, crazy. All our basic life is crazy life, because it’s nonsense.)

1https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C

กวีเรื่องความตายของปรมาจารย์เซ็นผู้ยิ่งใหญ่คือ, “ฉันได้พูดจาไร้สาระมาตลอด จากอ่างอาบน้ำหนึ่งไปสู่อ่างอาบน้ำอีกอันหนึ่ง.” หะหะหะ. (The death poem of a great Zen Master was, “I have uttered nonsense from the bathtub to the bathtub.” Ha. Ha. Ha.)



          ทั้งหมดของอ่างอาบน้ำนั้นที่เด็กทารกได้ถูกล้าวน้ำตอนเกิด, ในอ่างที่ร่างศพถูกล้างในตอนตายก่อนพิธีกรรมงานศพ. เอ่อ, นั่นคือสองความหมายประเด็นของชีวิต. และเช่นนั้น, ทั้งของคำสอนเซ็นขอวงท่านนี้, ทั้งของการแบกถือไปของท่าน นี้คือเพียง, ท่านบอก, แค่สิ่งของและไร้สาระ(All the bathtub in which the baby is washed at birth, the bathtub in which the corpse is washed before cremation. Uh, that’s the two terms of life. And so, all his Zen teaching, all his carryings on were just, he said, just stuff and nonsense.)

           https://youtu.be/_wIdUa7dEVA?si=94-x8qd76AtDe4JI

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ถ้าไม่มีพระผู้สร้าง, แล้วทำไมจักรวาลถึงมีขึ้นมาได้? ชาวพุทธให้คำตอบนี้

ถ้าไม่มีพระผู้สร้าง, แล้วทำไมจักรวาลถึงมีขึ้นมาได้? ชาวพุทธให้คำตอบนี้

If There's No Creator, Why Does The Universe Exist? A Buddhist Answer

          https://youtu.be/gITP1mspOW8?si=zvTLZmnwZ60CCS85

 

บทที่ 1: มนุษย์โหยหาว่า: ใครเป็นผู้สร้างทำสิ่งนี้ขึ้นมา? (The Human Longing: Who Made This?)

          ถ้าไม่มีพระผู้สร้าง, ทำไมจักรวาลถึงมีอยู่? ชาวพุทธผู้อ่อนโยน ให้คำตอบ.

          มีขณะหนึ่ง, เงียบสงัด และคงอยู่ยาวนาน, ที่มาถึงยังมนุษย์ทุกคน. เราก็เงยหน้าขึ้นมองที่ดวงดาวทั้งหลาย, หรือเรานั่งอยู่ตามลำพังภายหลังจากที่ใครบางคนยได้เสียชีวิตจากไป, และคำถามนี้ก็ผุดขึ้นมาอย่างช้าๆ – ใครสร้างทำทั้งหมดนี้? มันยไม่ใช่แค่ความสนใจใฝ่รู้; มันเป็นบางอย่างที่ลึกลงไปกว่า. เราโหยหาค่อความหมายที่อยู่เบื้องหลังความวุ่นวายจลาจล, มือที่ชี้นำทางให้ในพายุ.  (There’s a moment, quiet and persistent, that comes to almost every human being. We look up at the stars, or we sit alone after someone we love has passed, and the question slowly rises – Who made all this? It’s not just curiosity; it’s something deeper. We long for meaning behind the chaos, a guiding hand in the storm.)

เมื่อชีวิตได้กลายเป็นความไม่แน่นอน, ความคิดที่ว่าใครบางคนทรงพลังอำนาจได้กำลังเฝ้าดูอยู่เหนือเรา ก็นำความอุ่นอกอุ่นใจสบายอย่างลึกซึ้งมาสู่เรา, ทำให้เรารู้สึกโดเดี่ยวลำพังน้อยลงในความไพศาลนี้. ลำต้นค้ำจุนทั้งหลายตามธรรมชาตินั้นงอกโตขึ้นมาจากความโน้มเอียงอันฝังรากลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์. (When life becomes uncertain, the idea of someone powerful watching over us brings profound comfort, making us feel less alone in the vastness. This natural stems from a deep-seated human tendency.)

จากยุคสมัยเริ่มต้น, เราได้ถูกสอนมาว่า ทุกสิ่งนั้นมาจากที่ไหนสักแห่ง: บ้านถูกสร้างโดยช่างก่อสร้าง, หนังสือถูกเขียนขึ้นโดยนักประพันธ์.  ดังนั้น, การมองดูบางสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาลเช่นจักรวาลนั้น, มันเป็นโดยสัญชาตญาณจะถามว่า: ใครเป็นผู้สร้างทำสิ่งนี้?  (From the early age, we are taught that everything comes from somewhere: a house is built by a builder, a book is written by a writer.  So, looking at something as vast as the universe, it’s instinctively natural to ask: who created this?)

แรงกระตุ้นนี้ได้ถูกฝังรากลึกในอะไรทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “การสืบค้นผู้กระทำ.” สมองของเราได้วิวัฒนาการมาเป็นความสนใจสังเกต – ถ้าหญ้าสั่นไหว, มันเป็นแค่ลม,หรือว่ามีเสือตัวหนึ่งซ่อนอยู่? สัญชาตญาณการเอาตัวรอดนี้ในตอนนี้ได้ขยายไปสู่จักรวาล; เรามองดูกาแล๊กซี่ทั้งหลายและคิดว่า: ใครบางคนต้องได้เอามันมาจัดวางขึ้น. ด้วยความกลัว, บ่อยครั้งก็มาถึงคำถามที่ว่า, “ใครสร้างทำมัน?” (This impulse is rooted in what psychology calls “agency detection1.” Our brains evolved to notice intention – if the grass rustles, is it just wind, or a hidden tiger? This survival instinct now extends to the cosmos; we look at galaxies and think: someone must have placed them. With awe, often comes the question, “Who made it?”)

1https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3

พระพุทธเจ้าได้เข้าใจถึงความโน้มเอียงนี้. มีเรื่องราวหนึ่งในคัมภีร์ชาวพุทธกล่าวถึงท้าวผกาพรหม, เทวดาองค์หนึ่งที่, เนื่องด้วยการมีชีวิตอยู่ยาวนานกว้างไกลในอาณาจักชั้นสูงของตน, ได้เชื่อว่าเขาเป็นพระผู้สร้างตลอดกาล. พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยือนเขา, และอย่างอ่อนโยนได้เผยให้เขาเห็นว่า “พระผู้เป็นเจ้า”นี้ได้ติดอยู่ในความหลงผิดและการเกิดใหม่, อันเป็นผลมาจากมุมมองที่จำกัดและความหลงลืมไปของเหตุทั้งหลายซึ่งนำเขามาที่นั้น. (The Buddha understood this tendency. There’s a story in the Buddhist texts about Brahma Baka2, a celestial who, due to vast stretches of existence in a high realm, believed he was the eternal creator. The Buddha visited him, gently revealing that even this “god” was caught in delusion and rebirth, a result of his limited view and forgetfulness of the causes that brought him there.)

          2 https://en.wikipedia.org/wiki/Brahm%C4%81_(Buddhism)

          ในชั่วขณะอันลึกซึ้งนั้น: พระผู้เป็นเจ้า, คิดว่าเขาผู้เปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจทั้งหมดนี้, ก็หวนระลึกได้ว่า เขาเองก็ติดอยยู่ในข่ายใยแห่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย. (พูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า – ถึงแม้ตนจะเป็นผู้สร้างโลกโลกหรือดาวเคราะห์ทั้งหลาย, แต่ ตนก็หาได้เป็นผู้สร้างสร้างจักรวาลที่ตนอาศัยเกอิด/ดับอยู่นี้ – ผู้แปล) (It’s a profound moment: a god, thinking he is all-powerful, being remind he too is caught in the web of conditions.)

          วัฒนธรรมและจารีตประเพณีทั้งหลายได้มีคำตอบในหนทางที่แตกต่างกันไปในคำถามพื้นฐานมนุษย์นี้. ในศาสนาทั้งหลายแบบเทวนิยม, มีเทพยดาอยู่ผู้หนึ่งผู้ซึ่งได้สร้างสรรค์จักรวาลนี้ขึ้น – พระเจ้าผู้ได้สร้างทำทุกสรรพสิ่ง, ให้เป้าประสงค์และการควบคุมของมัน. ทัศนคตินี้เสนอให้ไม่แต่เพียงเรื่องราวของการสร้างสรรค์, แต่ได้ฝังสมอลงในอารมณ์รู้สึกเบื้องลึกว่า: คุณได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีเป้าประสงค์, คุณเป็นวัตถุ, ใครบางคนที่อยู่ในการควบคุม.   (Different cultures and traditions have answer this fundamental human in various ways. In theistic religions3, there is a divine being who created the Universe – a God who made everything, giving its purpose and control. This view offers not just a story of creation, but a deep emotion anchor: you were made on, purpose, you matter, someone is in control.)

          3https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1

          วิทยาศาสตร์ได้เสนอให้คำอธิบายที่แตกต่างไป. ฟิสิกส์สมัยใหม่เสนอนแนะว่าจักรวาลได้เริ่มต้นด้วยการระเบิดครั้งใหญ่ - บิ้ก แบง – จุดหนึ่งที่อวกาศ, เวลาและพลังงานได้ระเบิดขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิต. กระนั้น, แม้กระทั่งนักคิดที่เลอเลิศทั้งหลายเหมือนเช่นสตีเฟ่น ฮอว์กิ้งก็ได้ยอมรับว่ายังมีความลี้ลับอยู่อีก: อะไรที่มีอยู่ก่อนบิ้ก แบง? อะไรที่ทำให้เกิดมัน? เขาได้สำรวจค้นหาว่า อย่างไรที่ฟิสิกส์อาจจะยินยอมให้จักรวาลนั้นกำเนิดจาก “ความไม่มีอะไร” ที่เป็นศักยภาพอันล้ำลึกและอุดม, ซึ่งถูกปกครองโดยกฎทั้งหลายหนึ่ง ที่เราได้แต่เพียงเริ่มต้นเท่านั้นที่จะเข้าใจ. (Science offers a different explanation. Modern physics suggests the Universe began with the Big Bang4 – a point where space, time and energy exploded into being. Yet, even brilliant minds like Stephen Hawking5 admitted the mystery remains: what was before the Big Bang? What caused it? He explored how physics might allow the Universe to arise from a “Nothing” that is a deep, fertile potential, governed by Laws we’re only beginning to grasp.)

          4https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87

          5https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%99_%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%87

          แล้วก็มีวิธีของการมองแบบพุทธ – และในที่นี้, คำถามนั้นในตัวมันเองก็เริ่มต้นที่จะเปลี่ยนย้ายไป.(Then there’s the Buddhist way of seeing – and here, the question itself begins to shift.)

          พุทธศาสนาไม่ได้ถามว่า, “ใครสร้างทำสิ่งนี้?” แทนที่เช่นนั้น, ได้ถามว่า, “อะไรทำให้ชั่วขณะนี้อุบัติขึ้น?” จุดเพ่งพินิจเคลื่อนที่จากการสร้างสรรค์ภายนอกมาสู่สภาวะ/ปัจจัยภายในทั้งหลาย, จากแรงกำลังห่างออกไปมาสู่รูปแบบที่ปรากฏขึ้นเฉียบพลันนั้น. (Buddhism doesn’t ask, “Who made this?” Instead, it asks, “What causes this moment to arise?” The focus moves from an external creation to internal conditions, from a distant force to immediate patterns.)

การเปลี่ยนย้ายอย่างลึกซึ้งนี้บังเกิดขึ้นเพราะพุทธศาสนาไม่ได้เสาะหาที่จะสร้างทำเรื่องราวจักรวาล, แต่ที่จะช่วยเราให้เข้าใจว่าทำไมเราจึงทุกข์, และเราสามารถหยุดยั้งได้อย่างไร. เมื่อได้ถามคำถามถึงจุดกำเนิดจักรวาล, พระพุทธเจ้สบ่อยครั้งอยู่นิ่งเงียบ. ไม่ใช่เพราะว่าพระองค์ไม่ได้รู้, แต่เพราะว่าคำถามทั้งหลายเช่นนั้น, ถึงแม้ว่าปราดเปรื่องน่าหลงใหล, หาได้นำไปสู่อิสรภาพ; พวกนั้นคอยแต่ทำให้จิตใจหมุนวนอยู่กับความคิด, ไม่มีวันได้สัมผัสถึงสิ่งสำคัญทั้งหลายที่แท้จริง.  (This profound shift happens because Buddhism seeks not to build a cosmic story, but to help us understand why we suffer, and how we can stop. When asked cosmic origin question, The Buddha often stayed silent. Not because he didn’t know, but because such questions, though intellectually fascinating, don’t lead to freedom; they keep the mind spinning on thought, never touching what truly matters.)

ในกาลามสูตร – วิธีปฏิบัติต่อความเชื่อ 10 ประการ, พระพุทธเจ้าได้อธิบายว่า การถามเกี่ยวกับความไม่มีที่สิ้นสุดทางโลก – อจินไตย หรือการมีอยู่ของชีวอัตตาภายหลังการตาย เป็นเหมือนการถูกยิงด้วยลูกธนูที่อาบยาพิษ แล้วปฏิเสธที่จะบำบัดรักษาจนกว่าคุณจะรู้ถึงผู้สร้างทำมัน, ไม้, และขนนกทั้งหลาย. คุณก็ตายก่อนที่จะค้นพบ.  (In the Cūļamālukya Sutta6 , the Buddha explained that asking about the world’s infinitude or a soul’s existence after death is like being shot by poisoned arrow and refusing to treatment until you know its maker, wood, and feathers. You die before finding out.)

6https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

พระพุทธเจ้าระบุไว้อย่างชัดเจนว่า, “เหล่านี้เป็นคำถามทั้งหลายที่ไร้ประโยชน์ต่อการหลุดพ้น/วิมุตติ.” พระองค์ไม่ได้ละทิ้งความสงสัยของจิต, แต่หันทิศทางกำกับมันให้มุ่งไปยังอะไรที่บำบัดรักษา, การเข้าใจว่าง่ายอย่างไรที่ความกระหายต่อความหมายเชิงนามธรรม สามารถเปลี่ยนไปเป็นความสับสนวุ่นวายได้. ดังนั้น, แทนที่จะถามว่า, “ใครสร้างทำจักรวาลนี้?” พระพุทธองค์จึงให้ถามว่า, “อะไรที่กำลังบังเกิดอยู่ในตอนนี้/เดี๋ยวนี้, และทำไมเราจึงทุกข์?” การค้นหานี้หันเข้าไปสู่ภายใน. มันเคลื่อนที่ย้ายจากดวงดาวทั้งหลายในท้องฟ้าไปยังความคิดทั้งหลายในจิต. และกระนั้น, คำถามนี้ยังคงโหยหาอยู่ว่า: ถ้าไม่มีพระผู้สร้าง, แล้วสิ่งทั้งหมดนี้มาจากที่ใดกัน? จักรวาลอันช่างสลับซับซ้อน, งดงามเช่นนี้สามารถมีอยู่ได้โดยปราศใครบางคนอยู่เบื้องหลังมัน?  (The Buddha explicitly stated, “These are not useful questions for liberation.” He wasn’t dismissing the mind’s wonder, but redirecting it toward what heals, understanding how easily that thirst for abstract meaning can turn into confusion. So, instead of asking, “Who made the universe?” Buddhism asks, “What is happening right now, and why do we suffer?” The search turns inward. It moves from the stars in the sky to the thoughts in the mind. And still, the question lingers: if there’s no creator, then where did all this come from? How can such a complex, beautiful universe exists without someone behind it?)

          การที่จะเข้าใจว่าพุทธศาสนาตอบสนองต่อการนี้อย่างไร, เราจำเป็นต้องที่จะมองยังทัศนะในเรื่องของเวลา, อวกาศ, และธรรมชาติของความสัจจริงในตัวมันเอง – ไม่ใช่เส้นตรง หรือ การกระทำเดี่ยว, แต่เป็นบางอย่างของการเคลื่อนที่อันไร้ที่สิ้นสุด. นั่นคือที่แนวความคิดในเรื่องวัฏจักร/วงกลมทั้งหลายเริ่มต้นที่จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้น.  (To understand how Buddhism responds, we need to look at its view of time, space, and the nature of reality itself – not a straight line or a single act, but something endlessly moving. That’s where the idea of cycles begins to take shape.)

บทที่ 2: ไม่มีพระผู้สร้าง: จักรวาลแห่งปัจจัยทั้งหลาย(No Creator: The Universe of Conditions)

 

          จิตของเราทั้งหลายเป็นเหมือนการเริ่มต้นอันสะอาด: รุ่งอรุณ, การเกิด, ชั่วขณะเริ่มแรกยิ่งนั้น. ดังนั้น, เมื่อได้บอกว่า, “ไม่มีขณะแรกฺ,” จิตต่อต้าน. มันต้องการประกาย, ผู้สร้าง, จุดหนึ่งที่ทุกสิ่งได้เริ่มต้น. แต่นั่นไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าได้อธิบายอย่างไรถึงความสัจจริง.  (Our minds like clean starts: daybreak, birth, the very first moment. So, when told, “There was no first moment,” the Mind resist. It wants a spark, a creator, a point where everything started. But that’s not how the Buddha described reality.)

พระองค์ได้สอนว่าจักรวาลนี้, และทุกสิ่งในมัน, ไม่มีจุดเริ่มต้นเดี่ยว. แทนที่, มันเคลื่อนที่ไปในวัฏจักร/วงกลมทั้งหลายอันกว้างไพศาลของการดำรงมีอยู่ เกิดขึ้น, หายไป, กลับมา.  การหมุนวนไม่มีจบสิ้นของการเกิดและการตาย, รู้จักกันว่าคือ “สังสารวัฏ” ในพุทธศาสนา, ครอบคลุม ไม่ใช่แค่ชีวิตบุคคลของเราทั้งหลาย แต่หมายถึงจักรวาลทั้งปวง: ดาวเคราะห์ทั้งหลาย, กาแล๊กซี่, สวรรค์ทั้งหลาย, และนรกทั้งหลาย.  (He taught that this universe, and everything in it, has no single start. Instead, it moves in vast cycles of existence – arising, fading, returning. This endless turning of birth and death, known as samsārain Buddhism, encompasses not just our personal lives but the whole cosmos: planets, galaxies, heavens, and hells.)

          ในพระอัสสุสูตร, พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า, “ไม่สามารถจินตนาการได้ในการเริ่มต้นของสังสารวัฏ.” ไม่ใช่ไม่รู้, แต่ไม่อาจจินตนาการได้, เพราะว่ามันอย่างง่ายๆก็คือไม่ได้มีอยู่ในหนทางที่เราคิดได้. ทัศนภาพนี้เปิดเผยจักรวาลนั้นไม่ได้เป็นวัตถุที่ถูกตรึงแน่น, ปแต่เป็นเช่นกระบวนการที่ไหลและมีชีวิต. และเราเป็นส่วนหนึ่งในมันอย่างแนบชิด.  (In the Assu Sutta7, the Buddha said, “Unimaginable is the beginning of the samsāra’. Not unknown, but unimaginable, because it simply doesn’t exist in the way we think. This perspective reveals the Universe not as a fixed object, but as a flowing, living process. And we are intimately part of it.)

          7 https://www.accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn15/sn15.003.than.html

          ทุกสิ่งผุดขึ้นไม่ใช่จากบัญชาของสวรรค์, แต่จากปัจจัย/สภาวะทั้งหลายมาร่วมกัน. ลองคิดถึงคลื่นหนึ่งก่อรูปขึ้นจากลมและน้ำไม่ใช่จากไม่มีที่ใด, ไม่ใช่จากโองการของพระผู้สร้าง, แต่จากปฏิสัมพันธ์อย่างแม่นยำขององค์ประกอบทั้งหลาย.  นี้คืออย่างไรที่จักรวาลปฏิบัติการ:  ระบบรวมตัวกันด้วยตนเองอย่างมีพลวัตเปลี่ยนถ่ายไปอย่างสม่ำเสมอ, ไหลลื่น, และการตอบสนอง.(Everything arises not from divine command, but from conditions coming together. Think of a wave forming from wind and water – not from nowhere, not from a creator’s decree, but from a precise interplay of elements. This is how the Universe operates: a dynamic, self-organizing system constantly shifting, flowing, and responding.)

           

วิธีมองเช่นนี้ได้จัดเรียงแนวแถวการมองในบางหนทางทั้งหลายด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่. ไอน์สไตน์, ตัวอย่างเช่น, ไม่เคยเชื่อในเรื่องพระเจ้าส่วนบุคคล, แต่นับถืออย่างลึกซึ้งในโครงสร้างธรรมชาติความเป็นจริง.  เขาได้มองเห็นการสอดคล้องประสานกันภายในของจักรวาลนี้ – รูปแบบทั้งหกลายของการถักทอสานกันของเวลา, อวกาศ, และพลังงาน, ที่ซึ่งสิ่งทั้งหลายผุดขึ้นตามเหตุและปัจจัยทั้งหลาย. ความหวาดหวั่นของเขาไม่ใช่ถูกเล็งไปที่ผู้สร้างหนึ่ง, แต่ที่ความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อกฎธรรมชาติที่ปกครองเหนือทุกสรรพสิ่ง.  (This way of seeing aligns in some ways with modern science. Einstein, for instance, never believed in a personal God, but deeply respected the inherent structure of reality. He saw harmony within the cosmos – interwoven patterns of time. Space, and energy, where things arise due to exact cause and effect. His awe wasn’t aimed at a creator, but at the profound comprehensibility of natural laws governing everything.)

ความคิดนี้เป็นศูนย์กลางในพุทธศาสนา: ทุกหยดฝน, หัวใจเต้น, ทุกกาแล๊กซี่เข้ามาสู่การเป็นอยู่เพราะบางอย่างอื่นทำมันให้เป็นไปได้. ไม่มีอะไรยืนอยู่ตามลำพัง. นี่คือความสัจจริงอันทรงพลังเต็มเปี่ยม:สิ่งที่มีอยู่ก็เพราะมีสิ่งนั้นอยู่.(This idea is central in Buddhism: every raindrop, heartbeat, every galaxy comes into being because something else made it possible. Nothing stands alone. This is the powerful truth: “This exists because that exists.”)

ในบาลี, ปฏิจจสมุปบาทการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกันจึงเกิดมีขึ้น. จินตนาการถึงใยแมงมุมหนึ่ง, ที่ทุกเส้นใยโยงติดต่อกับทุกเส้นอื่น. เมื่อสัมผัสเส้นใยหนึ่ง, และใยทั้งหมดก็จะสั่นสะเทือน. นั่นคืออย่างไรที่จักรวาลทำงานตามความคิดของพุทธ. ไม่มีจุดเริ่มต้น, ไม่มีจุดศูนย์กลางการควบคุม, แค่เหตุและผลทั้งหลาย, ไหลไปและก่อรูปร่างในแต่ละชั่วขณะนั้น. อะไรที่ดูเหมือนแข็งคงรูปอยู่ ก็เป็นแค่ส่วนทั้งหลายมากมายที่มาร่วมกัน, ยั่งยืนไปชั่วระยะหนึ่ง, และแล้วก็ผ่านไป.  (In Pali, this is "Pratītyasamutpāda"8 – Dependent Origination. Imagine a spider web, where every thread connects to every other. Touch one strand, and the whole web trembles. That’s how the Universe works on Buddhist thought. There’s no beginning point, no central controller; just causes and effects, flowing and shaping each moment. What looks solid is merely many parts comings together, sustained for a while, and then passing on.)

8 https://en.wikipedia.org/wiki/Prat%C4%ABtyasamutp%C4%81da

การพึ่งพาอาศัยกันในการเกิดมีขึ้น เสนอให้ดุจแผนที่ที่บอกว่าสิ่งทั้งหลายอุบัติขึ้นได้อย่างไร. จากอารมณ์รู้สึกเล็กที่สุดไปสู่กาแล๊กซี่ใหญ่โตที่สุด, ทุกสิ่งโผล่ผุดจากเหตุปัจจัย/สภาวะทั้งหลายจำเพาะหนึ่ง. ไม่มีอะไรกำเนิดขึ้นออกมาจากกาไม่มีอะไร, หรือก็ไม่ได้จากถูกสร้างสรรค์เพียงเหตุเดียวแยกขาดจากสิ่งอื่น; มักจะมีห่วงโซ่หนึ่ง, เครือข่ายหนึ่งของการพึ่งพาอาศัยกันทั้งหลาย. (Dependent Origination serves as a map of how things arise. From the smallest feeling to the largest galaxy, everything emerges from specific conditions. Nothing is born out of nothing, nor created from a single, isolated cause; there’s always a chain, a network of interdependencies.)

12 การเชทื่อมต่อทั้งหลายของปฏิจจสมุปบาท/การพึ่งพาอาศัยในการเกิดมีขึ้น, บ่อครั้งประยุก๖ไปเป็นความทุกข์ของมนุษย์, และยังเปิดเผยให้เห็นว่า อย่างไรที่โลก/ภพทั้งหลายทั้งปวงปรากฏ: ไม่ใช่เพราะใครบางคนสร้างทำมันพวกมันขึ้นมา, แต่เพราะเหตุและเหตุปัจจัยทั้งหลายให้อุบัติแก่พวกเขา.  (The 12 links of Dependent Origination, often applied to human suffering, also reveal how entire worlds appear: not because someone made them, but because causes and conditions gave rise to them.)

หลักการนี้ประยุกต์ได้อย่างกว้างขวางสากล: ดวงดาวทั้งหลาย, ดาวเคราะห์ทั้งหลาย, ความคิดทั้งหลาย, การกระทำทั้งหลาย, เวลา ในตัวมันเอง – พวกเขาทั้งหมดต่างอุบัติขึ้นด้วยกัน, ไม่ได้อย่างแยกจากกัน. วิทยาศาสตร์สมัยใหม่, โดยเฉพาะควอนตัมฟิสิกส์, สะท้อนก้องกังวาลบางอย่างของความคิดทั้งหลายเหล่านี้. ในควอนตัมฟิสิกส์, อนุภาคทั้งหลายไม่ได้มีอยู่ในแบบติดแน่นแอยู่กับที่ทั้งหลาย จนกว่าพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กัน; พวกเขาถูกระบุได้ด้วยสัมพันธภาพทั้งหลายนั้น.  (This principle applies universally: stars, planets, thoughts, actions, time itself – they all arise together, not separately. Modern science, especially Quantum Physics, echoes some of these ideas. In Quantum world, particles9 don’t exist in fixed places until they interact; they are defined by relationships.)

9https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84

อะไรที่เราเรียกวา “วัตถุ” ไม่ได้แข็งคงรูปอยู่, แต่คือพลังงานกำลังเคลื่อนไหวในรูปแบบทั้งหลาย. ความเป็นจริง, ที่แก่นแกนของมัน, ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเหมือนเครื่องจักรกล: มันถูกถักทอสานกันเหมือนสนามหนึ่ง.   (What we call “matter” isn’t solid, but energy moving in patterns. Reality, at its core, isn’t built like a machine; it’s woven like a field10. Stephen Hawking suggested the Universe could have created itself due to the inherent laws of physics, not by an external builder, but by rules allowing emergence from a “quantum vacuum” a fertile potential, not truly nothing.)

10https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84

ในหนทางแปลกประหลาด, “ความไม่มี”เชิงวิทยาศาสตร์นี้เข้าคู่กันได้กับสุญตาของพระพุทธเจ้าความว่างเปล่า: ไม่มีอยู่, แต่ “ไม่มีสิ่งใดมีอยู่อย่างอิสระ/ตามลำพังได้.”  (In a strange way, this scientific “nothing” matches the Buddha’s Śūnyatā11 – Emptiness: not exists, but “nothing exists independently.”

11https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B8%B2

ในทางพุทธศาสนา, ความว่าง ไม่ใช่ทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์หนึ่ง. มันเป็นหนทางของการมองว่าเป็นิการปลดปล่อยจิตเป็นอิสระ: การที่ตระหนักว่าไม่มีตัวตนถูกติดแน่นคงที่, ไม่มีวัตถุที่ถูกติดแน่นคงที่, ไม่มีชั่วขณะที่คงที่. ทุกสิ่งอยู่ในการเคลื่อนไหวซึ่งสม่ำเสมอ, อุบัติขึ้นร่วมกัน. (In Buddhism, Emptiness isn’t a scientific theory. It’s a way of seeing that frees the Mind:  recognizing there’s no fixed self, no fixed object, no fixed moment. Everything is in constant motion, co-rising.)

พิจารณาถึงลมหายใจของคุณ. คุณไม่ได้ประดิษฐ์มัน, ไม่ได้ออกแบบปอดทั้งหลายของคุณ. กระนั้น, นี่ไงคุณ, กำลังหายใจ. ลมหายใจมาแล้วก็ไป, เหมือนคลื่น, เหมือนลม. นั่นคืออย่างไรที่จักรวาลเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน: ในรูปแบบทั้งหลาย, ในจังหวะทั้งหลาย, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ.   (Consider your breath. You didn’t invent it, didn’t design your lungs. Yet, here you are, breathing. The breath comes and goes, like waves, like wind. That’s how the Universe moves too: in patterns, in rhythms, always changing.)

นี้ไม่ได้เป็นมุมมองเชิงกลไก, เย็นชา. ในที่จริงแล้ว, มันเป็นอย่างลึกล้ำสนิทสนมใกล้ชิด. มันเตือนจำให้กับเราว่า: เราไม่ได้แยกขาดออกจากจักรวาล; เราเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคลี่เผยออก. เราไม่ได้กำลังเฝ้าดูโลกจากข้างนอก; เราอยู่ในมัน, เหมือนตัวโน้ตหนึ่งของเพลง, ผุดขึ้นมาเมื่อดนตรีมาถึงตรงนั้น.  (This isn’t a cold, mechanical view. In fact, it’s deeply intimate. It reminds us: we are not separate from the Universe; we are part of its unfolding process. We’re not watching the world from the outside; we are in it, like a note in a song, arising when the music is right.)

พระพุทธเจ้าไม่ได้ขอให้เชื่ออย่างตามืดบอด. พระองค์เพียงได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีที่สิ่งทั้งหลายเป็น:จงเห็นด้วยตนเอง.” เมื่อคุณได้สังเกตอย่างใกล้ชิด, ในขณะที่สงบนิ่ง, คุณอาจสังเกตโลกนั้นไม่ได้จำเป็นที่ต้องถูกสร้างทำขึ้นที่จะมีความหมายเต็มเปี่ยมใด. ความหมายของมันคือได้ค้นพบในรูปของการเคลื่อนไหว, ในความปฏิสัมพันธ์ต่อกัน. ดังนั้น, ความคิดเรื่องของจักรวาลโดยปราศจากประกายปะทุแรกนั้นไม่ได้เป็นอะไรบางอย่างที่จะหวาดกลัว; มันคือบางอย่างที่จะนั่งไปด้วย, ในความสงบนิ่ง, จิตนั้นได้เปิดออก. ความจำเป็นของการเริ่มต้นอย่างนุ่มนวล.  (The Buddha never asked for blind belief. He just pointed to the way things are: “See for yourself.” When you observe closely, with stillness, you might notice the world doesn’t need to be made to be meaningful. Its meaning is found in the motion, in the interconnectedness.  So, the idea of a Universe without a first spark isn’t something to fear; it’s something to sit with. In that stillness, the Mind opened. The need for a beginning softens.)

อะไรที่คงอยู่ก็คือความกระจ่างแจ้ง, ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายดังที่พวกมันเป็น. เพียงแค่เช่นเดียวกับลมหายใจ, จักรวาลมาได้จำเป็นต้องการการเริ่มต้นที่จะเป็นจริง. มันแค่จำเป็นต้องการเหตุปัจจัย/สภาวะทั้งหลาย. และเมื่อเหตุปัจจัย/สภาวะทั้งหลายเหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกัน, ลมทั้งหลายก็เคลื่อนที่ข้ามมหาสมุทรไป - และคลื่นหนึ่งก็ผุดขึ้นมาอีกครั้ง.  (What remains is clarity, understanding things as they are. Just like the breath, the Universe doesn’t need a beginning to be real. It just needs conditions. And when those conditions come together, the wind moves across the ocean – and a wave rises once again.)

หกอาณาจักร – ที่ซึ่งจิตสำนึกสามารถปรากฏได้อีกครั้ง (The Six Realms—Where Consciousness Can Reappear)

 

บทที่ 3: ทัศนภาพของพระพุทธเจ้า: จักรวาลของกรรม (The Buddha’s Vision: A Cosmos of Karma)

          บางผู้คนคิดว่าพระพุทธเจ้าหลีกเลี่ยงคำถามเรื่องจักรวาล, แต่นั่นไม่เป็นความจริง. พระพุทธเจ้าได้มองอย่างลึกล้ำเข้าไปในจักรวาล – ไม่ใช่แค่แผนที่ดวงดาวทั้งหลาย, แต่ที่จะเข้าใจว่าอะไรคอยทำให้สิ่งที่ดำรงอยู่หมุนเปลี่ยนไป. พระองค์ให้คำตอบทั้งหลายไม่ใช่เพื่อต่อความใฝ่รู้ใคร่รู้, แต่เพื่อความกระจ่างแจ้งและเป็นทุกข์น้อยลง.   (Some people think Buddhism avoids cosmic questions, but that’s not true. The Buddha looked deeply into the Universe – not to map stars, but to understand what keeps existence turning. He gave answers not for curiosity, but for clarity and less suffering.)

ผ่านการปฏิบัติสมาธิอันลึกซึ้ง, จิตของเขากลายเป็นกระจกเงาหนึ่ง, สะท้อนการเต้นรำอันสลับซับซ้อนของการสร้างสรรค์ และการละลายข้ามมิติอันรู้จบสิ้น. เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตื่นรู้/ตรัสรู้ใต้ต้นโพธินั้น, พระองค์ได้มองเห็นว่าสรรพสิ่งทั้งปวงนั้นอุบัติขึ้นและผ่านจากไปอย่างไร, รวมทั้งภพทั้งหลายทั้งปวง. ทัศภาพของพระองค์, ฝังรากอยู่ในการมองเห็นโดยตรง, จากการสงบนิ่งลึก, ซึ่งได้ยินยอมให้พระองค์มองเห็นโพ้นเลยไปจากพระเจ้าทั้งหลาย. (Through profound meditation, his Mind became a mirror, reflecting the intricate dance of creation and dissolution across countless dimensions. When the Buddha awakened under the Bodhi tree, he saw how all things arise and pass, including entire worlds. His vision, rooted in direct seeing from deep stillness, allowed him to see beyond gods.)

สำหรับพระองค์, แม้แต่เทวดาก็เป็นส่วนหนึ่งของ “สังสารวัฏ”, ผูกอยู่กับกรรม, ในท้ายสุดก็เลือนจางไป. พระองค์ล่วงรู้ว่า มีอยู่อย่างไร, ปัจจัยเป็นเหตุโดยการกระทำทั้งหลายของพวกนั้น, สำแดงประกาศในหลากหลายรูปและอาณาจักรทั้งหลาย, จากมนุษย์ผ่านไปอย่างรวดเร็วอาศัยอยู่ต่อความเป็นอยู่อันสูงส่งยิ่งบนสวรรค์, แต่ละที่อยู่อาศัยชั่วคราวก่อรูปร่างขึ้นโดยการเลือกทั้งหลายของอดีต. พระองค์ได้อธิบายการเห็นระบบทั้งหลายของภพนับหลายพัน, แต่ละกับการมีอยู่/สิ่งมีชีวิต, สวรรค์ทั้งหลาย, และนรกทั้งหลาย, ถูกก่อรูปขึ้นโดย เหตุและการกระทำทั้งหลาย.  (To him, even heavenly beings are part of ‘samsāra12, bound by Karma, eventually fading. He perceived how being, conditioned by their actions, manifest in various forms and realms, from fleeting human lives to grander celestial existences, each a temporary dwelling shaped by past choices, He described seeing thousands of world systems, each with beings, heavens, and hells, shaped by causes and actions.)

12 https://en.wikipedia.org/wiki/Sa%E1%B9%83s%C4%81ra

นี้ไม่ได้เป็นแบบพิมพ์เขียวตายตัวกำหนดบัญชามาจากเบื้องบน, แต่เป็นระบบที่จัดระเบียบตนเองแบบพลวัต ที่ซึ่งกฏสากลทั้งหลายได้สำแดงกรากฏออกมาผ่านทุกความตั้งใจและการกระทำ/กรรม. วิธีในการมองเช่นนี้ไม่ได้ปฏิเสธ; มันเป็นการเข้าใจ.  (This wasn’t a static blueprint dictated from above, but a dynamic, self-organizing13 system where universal laws manifested through every intention and deed. This way of seeing isn’t denial; it’s understanding.)

13 https://en.wikipedia.org/wiki/Self-organization

การเข้าใจไม่ได้มาจากจินตนาการของมือที่ซ่อนอยู่, แต่มาจากการเห็นความเชื่อมโยง, เหตุทั้งหลาย, เหตุปัจจัยทั้งหลาย. ความงดงามของจักรวาลนี้ทอดวางไม่ได้อยู่ในการออกแบบคงที่ตายตัว, แต่ในธรรมชาติการมีปฏิสัมพันธ์อันเผยออกมิรู้จบ. (Understanding comes not from imagining a hidden hand, but from seeing the link, the causes, the conditions. The beauty of this cosmos lies not in a fixed design, but in its ever-unfolding interconnected nature.)

ในทางพุทธศาสนา, จักรวาลไม่ได้เป็นเช่นพีระมิดที่มีพระเจ้าอยู่บนยอด0 มันเป็นสนามทุ่งของเมล็ดพันธุ์และพืชผลทั้งหลาย: กรรมคือดิน, การกระทำทั้งหลายคือเมล็ดพันธุ์ทั้งหลาย, และผลลัพธ์ทั้งหลายก็เติบโตอย่างธรรมชาติ, โดยการเชื่อมต่อกัน. ไม่มีการตัดสินจากเทพเจ้าภายนอก, เป็นเพียงธรรมชาติการเผลออกของลำดับการณ์ทั้งหลาย, เหมือนเช่นมากกว่าอย่างไรที่ลูกโอ๊คอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นโอ๊ค, เมื่อถูกให้ปัจจัยทั้งหลายที่เหมาะสมถูกต้อง. ถ้าผู้หนึ่งโกหกบ่อยๆ, พวกเขาก็ก่อรูปร่างจิตที่แน่ชัดหนึ่ง, สร้างสรรค์ผลลัพธ์นั้นออกมา.   (In Buddhism, the Universe isn’t a pyramid with one God at the top. It’s a field of seeds and fruits: Karma is the soil, actions are the seeds, and results grow naturally, by connection. There’s no judgment from an external deity, only the natural unfolding of consequences, much like how an acorn inevitably grows into an oak, given the right conditions. If one lies often, they shape a certain mind, creating results.)

เมมตากรุณาและปัญญาก็ส่งผลลัพธ์ทั้งหลายออกมาเป็นอย่างอื่น. ผลลัพธ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ก่อแบบรูปแค่เพียงประสบการณ์ส่วนบุคคล, แต่เป็นอะไรเช่นโลกที่เราได้อาศัยอยู่นี้. กระนั้น, แม้ว่าอาณาจักรทั้งหลายของมนุษย์ไม่ได้คงที่ยคดแน่น; เราอุบัติขึ้นหรือร่วงลงได้ตั้งอยู่บนที่ว่าเรามีชีวิตอยู่อย่างไร. เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรางวัลหรือการลงโทษ, แต่เป็นเพียงอย่างง่ายๆของเหตุและผล.  (Kindness and wisdom bring other results. These results form not just personal experiences, but the kind of world we live in. Thus, even human realms aren’t fixed; we rise or fall based on how we live. This isn’t reward or punishment, but simple cause and effect.)

ทุกความคิด, คำพูด, และการกระทำทั้งหลาย ก่อให้เกิดระลอกคลื่นการถักทอร่วมกันของผืนผ้าแห่งการดำรงอยู่, สร้างรูปร่างไม่เพียงแค่ชะตากรรมของเรา แต่เป็นธรรมชาติอย่างชัดเจนของอาณาจักรทั้งหลายที่เราอาศัยอยู่. ทัศนภาพนี้ยังอธิ บายด้วยเช่นกันว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่เคยที่จะเพ่งความสนใจไปที่การเริ่มต้นมีขึ้นของจักรวาล.  (Every thought, words, and action casts a ripple, collectively weaving the fabric of existence, shaping not just our destiny but the very nature of the realms we habit. This perspective also explains why the Buddha never focused on the Universe’s beginning.)

การถามว่าที่ไหนซึ่งมันได้เริ่มต้นขึ้นก็เหมือนกับการถามว่าจุดไหนที่วงกลมเริ่มต้น หรือเปลวไฟได้ลุกโชน. คำถามทั้งหลายเช่นนั้นดึงลากเอาจิตออกไปข้างนอก, ไปสู่ความคิดนึก. คำสอนของพระพุทธเจ้าหันจิตกลับเข้ามาข้างใน, เข้าไปในความตรวจสังเกต. พระองค์ไม่ได้ถือว่าคำถามทั้งหลายเหล่านี้ผิด, แต่ไม่ได้ช่วยอะไรในหนทางไปสู่สันติ. (Asking where it started is like asking where a circle begins or a flame jumps. Such questions pull the Mind outward, into speculation. The Buddha’s teaching turns the Mind inward, into observation. He deemed these questions not wrong, but unhelpful for the path to peace.)

พระองค์ได้เปิดเผยจักรวาลออกมาเป็นดุจกระบวนการของการมีชีวิต, การหายใจ, ตอบสนองเสมอ, เปลี่ยนรูปเสมอ, ซิมโฟนีวงใหญ่ของการดำรงมีอยู่ตามปัจจัย/สภาวะ. ญาณ/ความหยั่งรู้อันลึกซึ้งนี้ได้เสนอเส้นทางไม่ใช่ที่จะเป็นความเชี่ยวชาญทางปัญญาในจักรวาลวิทยา, แต่เพื่อที่จะเป็นการปลดปล่อยในความยึดมั่นในการมองเห็นความจริงให้เป็นไปตามความเป็นจริง. (He revealed a Universe that as a living, breathing process, always responding, always transforming, a grand symphony of conditioned existence. This profound insight offered a path not to intellectual mastery of cosmology, but to a liberation grounded in seeing reality as it truly is.)

บทที่ 4: การตื่นจากความฝันแห่งจักรวาล (Waking from the Cosmic Dream)

          นี้ไม่ได้ที่จะบอกว่าวิทยาศาสตร์และการศึกษาจักรวาลนั้นไม่มีคุณค่า. มีบางอย่างที่งดงามในอย่างไรที่ทั้งพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เสาะหาที่จะเข้าใจต่อโลกโดยปราศจากการโหยหาอยู่กับพระผู้สร้างหนึ่งเดียว.(This isn’t to say science and cosmic study have no value. There’s something beautiful in how both Buddhism and science seek to understand the world without clinging to a single creator.)

ความหวาดหวั่นของไอน์สไตน์ที่จักรวาลเป็น “ที่สามารถหยั่งรู้ได้” ก้องสะท้อนการมองเห็นระเบียบเชิงลึกของพระพุทธเจ้า. ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายใช้สูตรคณิตศาสตร์ทั้งหลาย, พระพุทธเจ้าได้ใช้การปฏิบัติสมาธิ.  ฟิสิกส์ศึกษาในเรื่องอวกาศและเวลา, พระพุทธเจ้าศึกษาเรื่องเจตนา, ปรีชาญาณการจับได้หมายรู้, และตัณหาการติดข้องในอารมณ์. ทั้งสองเส้นทางสามารถนำไปสู่ความเคารพอย่างลึกซึ้งต่ออย่างไรที่สิ่งทั้งหลายทำงาน. กระนั้น, จุดหมาย/ความจริงขั้นสูงสุดของชีวิตของพระพุทธเจ้าได้ก้าวข้ามความเข้าใจเชิงปัญญาของกฏแห่งจักรวาล.  (Einstein’s awe at the Universe being “comprehensible” echoes the Buddha’s seeing deep order. While scientists use formulas, the Buddha used meditation. Physics studies space and time, Buddhism studies intention, perception, and craving. Both paths can lead to a profound respect for how things work. Yet, the Buddha’s ultimate concern14 transcended mere intellectual understanding of cosmic laws.)

14 https://en.wikipedia.org/wiki/Ultimate_reality

พระองค์ได้แสวงหาไม่เพียงแต่หยั่งรู้ถึงจักรวาล, แต่เพื่อที่จะค้นพบพ้นไปจากวัฏจักรอันไม่สิ้นสุดขแองทุกข์. แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้หยุดที่ความหวาดหวั่น. พระอง๕ได้ไปไกลยิ่งกว่า, การสอนว่าทำอย่างไรที่จะเคลื่อนโพ้นเลยจากวัฏจักรนั้นด้วยตัวของพวกเขาเอง. พระองค์เปรียบเทียบจักรวาลกับความฝัน. เราสามารถพิศวงใจที่ความงดงามของความฝันหนึ่งได้, แค่อิสรภาพที่แท้จริงมาถึงเมื่อเราตื่นขึ้น. ดังนั้นพระองค์จึงไม่ได้ถามว่า, “ความฝันนั้นทำสร้างมาจากอะไร?” พระองค์ถามว่า, “อะไรที่คอยทำให้ฝันอยู่”.  (He sought not just to comprehend the Universe, but to find a way out of its endless cycles of suffering. But the Buddha didn’t stop at awe. He went further, teaching how to move beyond the cycles themselves. He compared the Universe to a dream. We can marvel at a dream’s beauty, but real freedom comes when we wake up. So, he didn’t ask, “What is the dream made of?” He asked, “What keeps is dreaming”)

การตื่นรู้ไม่ใช่การหลบหนีจากความเป็นจริง, แต่คือการมองเห็นอย่างลึกซึ้งถึงความเป็นจริง ดังที่มันเป็นจริง, อิสระจากความบิดเบี้ยวทั้งหลายของอัตตาและอุปาทาน. มันเป็นการปลดปล่อยจากมายาภาพของการแยกตัวตนออกจากสิ่งอื่น, สร้างและสร้างขึ้นใหม่ในภพทั้งหลายของประสบการณ์ ผ่านทะลุความปรารถนาและความหวาดกลัวทั้งหลายของมัน. สำหรับพระองค์แล้ว, คำตอบนั้นคือกิเลสความปรารถนาที่ลาหกดึงเราไปสู่รูป, อัตลักษณ์, และคำพูดทั้งหลาย.(This awakening is not an escape from reality, but a profound seeing of reality as it truly is, free from the distortions of Ego and Attachment15. It is a liberation from illusion of a separate self, constantly building and rebuilding worlds of experience through its desires and fears. For him, the answer was craving – the desire that pulls us into forms, identities, words.)

Ego (อัตตา) และ Attachment (การยึดติด) เป็นแนวคิดที่สำคัญในทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา Ego คือความรู้สึกของความเป็นตัวตน หรือตัวตนที่แยกจากผู้อื่น ส่วน Attachment คือการยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ บุคคล หรือความคิด ความรู้สึก 

15 https://en.wikipedia.org/wiki/Id,_ego_and_superego

* https://www.nkgen.com/732.htm

เมื่อกิเลสสิ้นลง, กงล้อก็หยุด. ภพ/โลก, ที่เรารู้จักมัน, เลือนหายไป. นี้หมายถึงไม่มีอะไรเหลือที่จะให้ไล่ล่า, ไม่มีอัตลักษณ์/ตัวตนให้ปกป้อง, ไม่มีพื้นให้ยืนหยัด. แค่สันติ. สันตินี้ไม่ใช่ช่องว่าง, แต่เป็นความกระจ่างแจ้งที่ไร้ขอบเขต, อิสรภาพจากแรงกำลังยิ่งยวดทั้งหลายที่สืบสานการร่ายรำของจักรวาล. มุมมองของพระพุทธเจ้าไม่ได้เล็กน้อยหรือเย็นชืด.  (When craving ends, the wheel stops. The world, as we know it, fades. This means nothing left to chase, no identity to defend, no ground to stand on. Just peace. This peace is not a void, but a boundless clarity, a freedom from the very forces that perpetuate the cosmic dance. The Buddha’s view of the Universe wasn’t small or cold.)

มันไพศาลและมีชีวิตชีวา, เต็มไปด้วยระดับชั้นและความเคลื่อนไหวทั้งหลาย.  แต่พระองค์มักที่จะนำความเพ่งสนใจกลับคืนมา: สิ่งนี้ช่วยเหลือให้เราตื่นรู้หรือไม่?พระองค์รู้ความเข้าใจว่าจักรวาลมีความหมายเพียงเล็กน้อยถ้าเราจะยังคงติดอยู่กับตวามโลภ, โกรธ, หลง/สับสน. การเดินทางที่แท้จริงนั้น, กระนั้น, ไม่ใช่การข้ามกาแล๊กซี่ทั้งหลาย, แต่เป็นภายในการเคลื่อนไหวอันละเอียดอ่อนทั้งหลายแห่งจิตของเราเอง. (It was vast and alive, full of layers and motions. But he always brought the focus back: Does this help us awake up? He knew understanding the cosmos means little if we’re still caught in greed, hatred, and confusion. The true journey, then, is not across galaxies, but within the subtle movements of our own minds.)

โดยการเข้าใจว่า อย่างไรที่เหตุปัจจัยทั้งหลายภายในเราเองให้อุบัติซึ่งประสบการณ์รับรู้ของเราต่อโลก, เราได้รับพลังอำนาจที่จะปรับแต่งรูปของประสบการณ์นั้น, ชั่วขณะแต่ละขณะ. ดังนั้นแล้ว, มากไปกว่าการชี้ถึงผู้สร้างหรือแบบพิมพ์เขียว, พระองค์ชี้ไปยังขณะปัจจุบัน – ตรัสว่า: จงมองดูที่นี่. เห็นอย่างกระจ่างแจ้ง.(By understanding how our own internal conditions give rise to our experience of the world, we gain the power to reshape that experience, moment by moment. So, rather than pointing to creator or blueprint, he pointed to the present moment – this breath, this feeling, this thought – saying: look here. See clearly.)

นั่นคือที่ควางลี้ลับที่แท้จริงเปิดอยู่. ไม่ใช่ที่ในท้องฟ้า. แต่ในจิตที่เฝ้าดูท้องฟ้า. จักรวาลได้เผยออกถึงสัจจะทั้งหลายอันลึกที่สุดของตัวมัน ไม่ใช่ผ่านการอธิบายภายนอกทั้งหลาย, แต่ผ่านความนิ่งสงบภายในของหัวใจซึ่งได้รับการปลดปล่อย/อิสรภาพ. (That’s where the real mystery opens. Not in the sky. But in the Mind that watches the sky. The Universe reveals its deepest truths not through external explanations, but through the inner stillness of a liberated heart.)

บทที่ 5:  คำตอบที่แท้จริง: จากคำถามภายนอกทั้งหลาย สู่อิสรภาพภายใน (The Real Answer: From External Questions to Inner Freedom)

          ในทุกยุคสมัย, ผู้แสวงหาทั้งหลาย, ผู้ช่างสงสัยทั้งหลาย, และผู้เชื่อถือทั้งหลาย พบว่าตัวพวกเขาเองปล้ำฟัดอยู่กับ การสอบถามเชิงลึกอยู่อย่างเดียวกัน: บางรายเป็นที่แน่ใจว่ามีพระผู้สร้าง, ผู้อื่นว้าไม่มี, และบางรายแบบง่ายๆว่าสงสัย. เมื่อคำถามทั้งหลายเหล่านี้ได้มาถึงพระพุทธเจ้า, พระองค์ได้รับฟัง. ไม่ใช่แค่คำพูดทั้งหลาย, แต่ต่อที่อยู่เบื้องใต้ความจำเป็นต้องการต่อความหมายนั้นด้วย, สันติ, ทิศทาง,. ชคำตอบของพระองค์เริ่มต้นที่นั้น, ไม่ใช่ด้วยทฤษฎีทั้งหลาย, แต่ด้วยความเข้าใจถึงหัวใจของผู้ถาม. พระองค์ได้เห็นว่า แม้จะมีความเชื่อทั้งหลายที่แตกต่างกันไป; ด้ายธรรมดาเส้นหนึ่งรวมเข้าเป็นหนึ่งในมนุษยชาติทั้งปวง: คือความปรารถนาที่จะหลุดพ้นความทุกข์ และค้นหาความสมปรารถนาที่แท้จริง.  (In every age, seekers, skeptics, and believers find themselves wrestling with the same profound inquiry: Some are sure there’s a Creator, others none, and some simply wonder. When these questions reached the Buddha, he listened. Not just to words, but to the underlying need for meaning, peace, direction. His reply began there, not in theories, but in understanding the questioner’s heart. He saw that despite different beliefs; a common thread unites all humanity: the desire to alleviate suffering and find genuine contentment.)

          พระองค์รู้ถึงเบื้องหลัง “ใครสร้างทำจักรวาล?” เป็นความโหยหาอย่างลึกยิ่งที่จะเข้าใจว่าทำไมชีวิตจึงรู้สึกอย่างที่มันเป็น: ทำไมเราเจ็บปวด, หวาดกลัว, หวัง. ดังนั้นแล้ว, แทนที่จะเป็นคำอธิบายโออ่าใหญ่หลวงถึงจักรวาล, พระพุทธเจ้าเปลี่ยนหันไปอีกทางอย่างอ่อนโยนว่า, “เจ้ากำลังทุกข์. เรามามองกันในที่นั้นเถิด.” (He knew behind “Who made the Universe?” was a deeper longing to understand why life feels as it does: why we hurt, fear, hope. So, instead of a grand cosmic explanation, the Buddha gently redirected: “You are suffering. Let’s look there.”)

          นี้ไม่ได้เป็นการหลีกเลี่ยง; มันชี้บอกถึงคำถามที่แท้จริง. ถึงแม้ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรค์จักรวาลขึ้นมา, เราก็ยังคงป่วย, แก่, ตาย, และรู้สึกถึงความสูญเสียเช่านนี้. ดังนั้นแล้ว, พระพุทธเจ้าจึงถาม: อะไรที่จะปลดปล่อยให้เจ้าเป็นอิสระจากการนั้นได้หรือ? การเปลี่ยนย้ายอย่างรุนแรงในการเพ่งสนใจนี้หันไปสู่การแสวงหาทางจิตวิญญาณภายในของการเปลี่ยนรูป. พระองค์ตรัสครั้งหนึ่งว่า, “ฉันสอนแต่เพียงหนึ่งสิ่งเท่านั้น: คือทุกข์, และการพ้นทุกข์.ฎ ไม่ได้ปฏิเสธความงดงามของดวงดาวทั้งหลาย, แต่เพราะว่าจุดกำเนิดขอิงพวกเขานั้นไม่ได้คลี่คลายความเจ็บปวดข้างใน. ไม่ได้ปฏิเสธใคร่รู้ใฝ่รู้, แต่ที่จะชี้มันไปทางด้านใน—ที่ซึ่งความเข้าใจเริ่มต้น.  (This isn’t avoidance; it’s addressing the real question. Even if a god created the Universe, we still get sick, age, die, and feel lost. So, the Buddha asked: What will free you from that? This radical shift in focus turns the entire spiritual quest from an external search for answers into an internal journey of transformation. He once said, “I teach only one thing: suffering, and the end of suffering.” Not to deny the stars’ beauty, but because their origin doesn’t solve inner ache. Not to reject curiosity, but to point it inward—to where understanding begins.)

          จักรวาลนั้น, ในแสงสว่างนี้, กลายเป็นครูผู้ลึกซึ้ง, การแสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึงหลักทั้งหลายของความไม่เที่ยง/ไม่จีรังยั่งยืนและการพึ่งพาซึ่งกันและกัน. และนั่นคือทำไม, ในวิถีพุทธ, คำถามนั้นได้เปลี่ยนย้ายไป. ไม่ใช่ “ใครสร้างทำสิ่งนี้?”  แต่ “อะไรในตอนนี้?” ฉันจะทำอะไรกับชีวิตนี้? (The Universe, in this light, becomes a profound teacher, constantly demonstrating the principles of impermanence and interdependence. And that’s why, in the Buddhist way, the question shifts. Not “Who made this?” but “What now?” What will I do with this life?)

          ฉันจะตอบสนองอย่างไรต่อความเจ็บปวด, ปีติ, เปลี่ยนแปลง? นั่นคือการทำงานของการตื่นรู้, ที่ซึ่งเป็นความรักทั้งหลายอย่างกระจ่างแจ้ง: บางคนยังคงกังขาใจอยู่ว่า:แต่อะไรถ้ามีพระผู้สร้าง, บางทีโพ้นเลยไปจากที่เรารู้ก็ได้ไหม?” สำหรับเรื่องนั้น, พระพุทธเจ้าไม่เสนอข้อโต้วาที. เพี่ยงนิ่งสงบ. ความว่างที่เงียบสงบที่ซึ่งแม้กระทั่งคำถามใหญ่โตทั้งหลายก็สามารถอ่อนลงไปได้, และจิตนั้นได้ค้นพบศูนย์กลางของตัวมันเอง, ไม่จำเป็นต้องการอีกต่อไปในความแน่นอนภายนอกที่จะรู้สึกปลอดภัย.  (How will I respond to pain, joy, change? That’s the work of awakening, where clarity loves. Some still wonder: “But what if there is a Creator, maybe beyond all we can know?” To that, Buddhism offers no debate. Only stillness. A quiet space where even big questions can soften, and the mind finds its own center, no longer needing external certainties to feel secure.)

          สันติภาพอันลึกซึ้งอุบัติขึ้นไม่ใช่จากคำตอบเชิงปัญญา, แต่จากการปลดปล่อยที่ลึกกว่าต่ออุปาทานทั้งหลาย. ในขณะที่พระพุทธเจ้าพระองค์เองได้สอนว่า:เมื่อจิตอยู่ในการนิ่งสงบ, โลกนั้นก็กลายเป็นที่กระจ่างชัดขึ้น. เมื่อปัญญาได้กำเนิด, ความจำเป็นต้องการพระผู้สร้างก็หมดไป – ไม่ได้เพราะมันถูกปฏิเสธ, แต่เพราะเจ้าไม่ห้อยแขวนอยู่กับคำถามนั้นอีกต่อไป.” นี้เป็นคำเชื้อเชิญสู่ประสบการณ์รับรู้ความเป็นจริงโดยตรง, สู่การอาศัยอยู่ในชั่วขณะนั้นอย่างเต็มเปี่ยม, และสู่การค้นพบสันติที่ไม่สั่นคลอนได้ซึ่งอุบัติขึ้นจากภายใน. (This profound peace arises not from intellectual answers, but from a deeper release of attachments. As the Buddha himself taught: “When the Mind is still, the world becomes clear. When wisdom is born, the need for a creator fades – not because it’s denied, but because you no longer cling to the question.” This is an invitation to experience reality directly, to inhabit the moment fully, and to discover an unshakable peace that arises from within.)

ในการสองอย่างเงียบสงบนี้, เราอย่างง่ายๆประสบรับรู้ต่อจักรวาลอย่างที่มันเป็น – ว่าเคลื่อนที่อยู่เสมอ, อุบัติขึ้นอยู่เสมอ, ละลายหายไปอยู่เสมอ. เพียงเหมือนกับคลื่นหนึ่งที่ไม่ไกด้จำเป็นต้องการช่างปั้น/ปฏิมากร, เพราะว่ามันไม่ได้เตยแยกออกจากมหาสมุทรเลย. (In this quiet seeing, we simply perceive the Universe as it is – always moving, always rising, always dissolving. Just like a wave that doesn’t need a sculptor, because it was never separate from the ocean.)

อย่างสมบูรณ์สุด, เราทั้งหมดต่างโหยหาที่จะเข้าใจจักรวาลนี้. บางรายเสาะหาพระเจ้า. บางรายเสาะหาตรรกะ/เหตุผล. บางรายแค่เสาะหาอวกาศ/ที่ว่าง. พุทธศาสนา, ในปัญญาอันลึกซึ้งของตน, ไม่ได้ละอายที่จะเชื่อ, หรือว่าเรียกร้องปฏิเสธ. เพียงเสนออย่างง่ายๆถึงเส้นทางที่จะมองเห็นอย่างกระจ่างแจ้ง, ที่จะมีชีวิตเปี่ยมเต็มที่ในแต่ละชั่วขณะ, และที่จะปล่อยวางอย่างนุ่มนวล. คำถามมูลฐานนั้น, แล้ว, ไม่ใช่ว่า “ใครสร้างทำสิ่งนี้?” (Ultimately, we all long to understand this, Universe. Some seek a God. Some seek logic. Some just seek space. Buddhism, in its profound wisdom, doesn’t shame belief, nor does it demand rejection. It simply offers a path to see clearly, to live fully in each moment, and to let go gently. The fundamental question, then, is not “Who made this?”)

มันเปลี่ยนรูปไปสู่ “ฉันจะสามารถตื่นขึ้นและมีชีวิตอยู่ด้วยความรัก, ความกระจ่างแจ้ง, และอิสรภาพได้ไหม?” เส้นทางนี้แม้ว่ามันเรียกหาความอดทน, ความกล้าหาญ, และความพากเพียรอดทน ในการปฏิบัติ, เป็นที่มีให้ได้เสมอ. แหล่งต้นกำเนิดสัมบูรณ์สุดของมันไม่ได้อยู่ที่ท้องฟ้า, แต่เป็นภายในศักยภาพอันไร้ขอบเขตแห่งหัวใจของคุณ (It transforms into: “Can I wake up and live with love, clarity, and freedom?” This path though it calls for patience, courage, and consistent practice, is always available. Its ultimate source is not in the sky, but within the boundless potential of your own heart.)

https://youtu.be/gITP1mspOW8?si=xMfFyNrxMKE4xklt