บัณฑูร ล่ำซำ: นโยบายสวยหรู พูดง่าย ทำยาก ครึ่งชาติไม่เห็นเสร็จ ผมก็พูดได้ | Economic Forum 2023
https://youtu.be/mcTTVuE0Coo?si=hGdJRE3fc2VLcr86
…อีกอย่างหนึ่งก็คือ การแก้โครงสร้าง ปรับโครงสร้าง ปฏิรูป ที่สำคัญคือแก้กฎหมายทางการเงิน
เพราะจริงๆแล้วไอ้ที่กฎหมายเดิมนี่ มันทำให้เกิดเอื้ออำนวยในการปั่นหุ้น
อะไรกันก็ว่าไป และควบคุมไม่ได้นะฮะ แล้วก็ ปฏิรูประบบเกษตร.
ฟังดูก็คุ้นๆ ปัจจุบันในประเทศไทยก็พูดถึงยังงั้น
ใช่มั้ย? คือทุกครั้งที่มีความล่มสลายเกิดขึ้นเนี่ยะ ที่จริงอเมริกาเก่งเรื่องนี้นะ
ผมยอมรับ คบคนอเมริกันมานี่ ในการเป็นชาติที่ล่มสลายแล้วเนี่ยะ
รื้อของเก่าเร็วที่สุด ไม่ติด เอ้า แทงศูนย์ เริ่มต้นกันใหม่ startใหม่ อเมริกันเป็นอย่างนี้แหละ สมัยวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ก็เช่นเดียวกัน
ถ้ามาstyle อเมริกัน เจ๊งก็เจ๊งไป
ผู้ถือหุ้นเก่ารับไป เสียหายไป เงินใหม่เข้า เริ่มต้นกันใหม่ ไม่ชักช้า ไม่ชักช้า
แต่อย่างว่า แต่ละที่มันก็ไม่เหมือนกัน ของเราก็ครึ่งๆกลางๆ มีเลี้ยงไข้บ้าง
แต่ตอนจบรอด.
ก็อย่างที่ผมบอกแล้ว 4 ปี 4 ปี
ถึงจะเริ่มฟื้นขึ้นมา แต่ตอนนี้มันก็เป็นบทเรียนว่า การแก้ปัญหาดเนี่ยะ
มันต้องใช้การสร้างองค์ความรู้ นี้คือเรื่องใหญ่ที่สุด เศรษฐกิจจริงๆก็คือการทำมาหากินของมนุษย์
ไม่ใช่ว่าแค่มีเงินซื้อ แต่ว่า เงินนั้นต้องมาจากการที่ตัวเองมีความรู้ มีกิจการที่ตัวเองทำได้
หรือสามารถมีความรู้ ไปรับจ้างเค้าทำงานที่นั่นถึงได้มีรายได้ ถึงจะยั่งยืนจริง
จึงจะยั่งยืนจริง เพราะฉะนั้น การที่ไม่มีความรู้เนี่ยะ เป็นเรื่องที่น่ากลัวที่สุดสำหรับประเทศ
ถ้าคนของประเทศนั้นไม่มีความรู้ ก็ทำได้แต่เรื่องตื้นๆ สินค้าแบบตื้นๆ
ไม่มีใครไปสู้กับเค้าในโลกใบนี้ได้.
อันนี้ก็อีกแหละ การพูดนโยบาย
บอกเพิ่มความรู้ up skill อะไร
ต้องใช้ศัพท์นี้อยู่ทุกวันเนี่ยะ มันพูดน่ะมันพูดง่ายครับ ไอ้ใครจะไปทำ หะ
เอาเรื่องภัยตอนนี้ที่พูดกันอยู่ ผมก็อ่านใน เค้าส่งมาทาง LINE เนี๊ยะ หนังสือพิมพ์เหรอ พอข้าวเราน่ะ โหล่อยู่นั่นแหละ ชาวนาไทยปลูกข้าวได้
400 กิโลต่อไร่ เวียตนาม 800 กิโล จีนนั่น 1,200 แล้วตอนนี้จะตั้งเป้าภายใน
3-4 ปี เราจะให้ชาวนารวยขึ้น 3 เท่าตัว โอ้ ท่านครับ มันใช่อ่ะครับ ใครเป็นคนทำล่ะ?
แล้วทำไมแต่ก่อนมันไม่ทำล่ะ? เพิ่งจะมาทำในวันนี้น่ะ?
อันนี้คำถามนี้
เราไม่ถามไม่ได้ ไอ้นโยบายสวยหรู พูดง่าย ไอ้คนปฏิบัตินี่อาจจะเจอยาก เพราะมันต้องใช้ความพยายาม
ใช้ความรู้ เอาแค่ประเด็นเนี่ยะ พืชเกษตรอันนี้ที่เรียกว่า ข้าว เนี่ยะ
ทำไมเราโหล่เปรตมาตั้งนานแล้ว แต่ไม่มีใครเดือดร้อน แล้วเดี๋ยวนี้ทำเป็นจะเดือดร้อนกันขึ้นมา
อ้าว แล้วครั้นจะเดือดร้อนนี่ ใครจะเป็นคนรับไปแก้ มีชาวนาตั้ง 10
ล้านคนในประเทศไทย ใครจะเป็นรัยบไปสื่อความให้เขา มันต้องไปสอนเขา
แล้วไอ้คนสอนมันมีไหม? แล้วสอนด้วยวิธีไหน? onlineเหรอะ? คือมันต้องคิดโจทย์ไอ้พวกอย่างงี้น่ะ
ไม่ใช่เอาแต่จะกูด ไอ้พูดน่ะมันพูดง่ายทั้งนั้นน่ะ ใช่มั้ย? ผมก็พูดได้ ใช่มั้ย?
แล้วไอ้คนไปทำล่ะ? ลงมือปฏิบัติเนี่ยะ คือสิ่งที่ยากที่สุดในการที่จะพลิกเกม โดยที่แก้ปัญหาใหญ่ของโครงสร้างประเทศเลย.
ขออนุญาตก้าวไปซีกโลกหนึ่ง
มีคนนึงก็เจอโจทย์ใหญ่เหมือนกัน ของการแก้ปัญหาระดับประเทศ ดร. ซุนยัดเซ็น
บิดาแห่งการปฏิวัติ ปฏิวัตินี่ไม่ได้ปฏิวัติธรรมดานะ เปลี่ยนการปกครองเลยนะ ยกระบบ
ล้มราชวงศ์ชิงนะ
ซึ่งอยู่มา
ล้มราชวงศ์ซึ่งอยู่มาหลายพันปีแล้ว แล้วนี่มาจากไหนล่ะ เอ่อ
น่าจะเกิดสมัยราชกาลที่ 4 อายุไม่ถึง 30 เลยนำ...ตอนนั้นก็ระบบในประเทศฺจีนฺวุ่นวาย
แล้วก็ผู้คนเดือดร้อน ก็มีความคิดว่าต้องมีปฏิวัติ ว่าคุณต้องปฏิวัติ ปฏิวัติครั้งใหญ่เลย
ปฏิวัติล้มล้างเลย ล้มล้างระบบ อายุไม่ถึง 30 เลย นำการปฏิวัติที่กวางโจว
เมื่อซักปี 1895 ยังไม่ถึง 30 เลย ผลคืออะไร? ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง สู้ไม่ไหว
ดีไม่ถูกฆ่าตาย หนีหัวซุกหัวซุน ไปอยู่ลอนดอน ไปอยู่ฮาวาย ไปอยู่ญี่ปุ่น
อีก 5 ปีกลับมาซัดกันใหม่ ปี 1900 กลับมานำการปฏิวัติ ที่หุ้ยโจว ไม่สำเร็จ
ไม่สำเร็จ หนีตายไปอีก มาที่ไหนรู้มั้ย? เยาวราชเรานี่แหละ ฮ๊า มาหาพรรคพวก
มาหาเงินสนับสนุน จะปฏิวัติต้องมีตังค์ มือเปล่าอย่ามาปฏิวัติ ต้องมีตังค์ แล้วก็มีความคิด
จากเยาวราชข้ามไปฝั่งอเมริกา แล้วก็เริ่มระดมหาเสียงหาอะไรต่างๆ พวกนี้
แล้วก็มีคำพูดของ ดร. ซุนยัดเซ็น ซึ่งผมยกมาให้ดู ซึ่งผมจำติด...สิ่งที่ยากก็คือ
การที่จะเข้าใจ เข้าใจในที่นี้หมายถึง มีความรู้ ที่จะทำนั่นทำนี่.
ไอ้ขึงขังทำนี่น่ะ
ทำได้ทั้งนั้น ทุกคนก็ทำทุกวัน อ่า ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็ เดี๋ยวจะยังงู้น
เดี๋ยวจะยังงี้เนี่ยะ แล้วเสร็จตั้งแต่เมื่อไหร่ล่ะ? ทำมาตั้งครึ่งชาติแล้ว
ไม่มีเสร็จ บอกแล้วว่าอย่าให้ผมพูดมาก เดี๋ยวมีเรื่อง
ไม่ ก็จริงๆ เราก็ปฏิบัติไม่เก่ง เราดีแต่พูด
แต่ไอ้คนทำไม่ทำ แล้วทำก็ไม่วัดผล แล้ววัดออกมาก็ไม่สำเร็จ ก็ไม่มีใครว่าอะไร
มันถึงโหล่เปรตอยู่อย่างนี้อ่ะนะ ใช่มั้ย?
เนี่ยะ อย่างเนี๊ยะ ตอนนี้กำลังจะมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่
เรื่องการเกษตรอะไรต่างๆ พวกเนี๊ยะ ก็ถามว่าท่านจะให้ใครทำครับ? ทีมไหนไม่ทราบ?
ทีมนี้เก่งกว่าของทีมเดิมอย่างไร? ทีมนี้มีวัฒนธรรมองค์กรต่างจากของเดิมยังไง?
ถ้าเหมือนของเดิมทุกอย่างหมด มันก็ผลก็ ทำไมผลมันก็เหมือนเดิม วัฒนธรรมองค์กรถ้าแบบเดิม
ๆ ความรู้แบบเดิมๆ วิธีการแบบเดิมๆ มันก็ผลมันก็แบบเดิมแหละ
เหมือนอีกคำพูดหนึ่งของ ดร. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แกบอกว่า
“ความโง่ของมนุษย์ก็คือการที่ ทำทุกอย่างด้วยวิธีการอย่างเดิมหมด แล้วคิดว่าผลมันจะแตกต่างไปจากเดิม.”
ผมเอาเขียนติดข้างฝา ติดไว้ที่bank
การที่จะ...จะแก้เกมเนี่ยะ มันต้องทำแตกต่างไปจากเดิม นี่ยังไม่พูดถึงว่า
ถ้าทำไม่สำเร็จเนี่ยะ ท่านคิดรึยังว่า จะส่งใครไปตัดหัว? คือไม่มีผลกระทบเลย ทำผิด
หรือมั่วๆอะไรมาก็เหมือนเดิม แล้วตอนจบไอ้คนที่ตายไปก็ประชาชนทั้งนั้น ถ้ารัฐล้มเหลว
ก็คือ ประชาชนล้มเหลวไปด้วย แล้วไปด้วยกันนั่นแหละ.
หรือประชาชน ไม่เอาด้วย ด้วยเหตุอะไรก็ตาม ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
อะไรต่างๆ มันก็คือความล้มเหลว กอดคอกันตาย รัฐกับประชาชน ไม่มีทางจะดีหรอก
พูดนโยบาย มันก็พูดได้ทั้งนั้น
ฉะนั้นอันนี้เนี่ยะ สิ่งที่อยากจะเห็นมาก เพราะว่าผมดูก็
ทุกคนก็จะพูดในทิศทางว่า เราควรจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ทิ้งนะครับ
แต่ว่า แต่ว่าใครจะเป็นคนไปทำ? แล้วแต่ละเรื่อง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ทำอย่างหนึ่งก็ไม่ต้องทำอีกอย่างหนึ่ง กำลังคนก็มีจำกัด
ใครจะเป็นคนจัดการให้เกิดผล ใครเป็นคนจัดการให้เกิดผล อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทิ้งเอาไว้
ในครรลองของนโยบายต่างๆ ที่ตั้งเป้ากันมา ก็ดูดีทั้งนั้นอ่ะนะ ฟังดูก็ดูดี ต่อให้ไม่ดีก็ต้องบอกว่าดี
เพื่อความสงบในชีวิต เค้าถึงให้ผมพูดเป็นคนสุดท้าย.
https://youtu.be/mcTTVuE0Coo?si=CgBnIwzOz5ZIR4ui
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น