หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2568

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย - จิตใจกับวิญญาณ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย - จิตใจกับวิญญาณ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

           https://youtu.be/Y4QZXE4e7vc?si=vY9a4ErGmoqKZ0qU

          จิตใจกับวิญญาณ ต่างกันหรือไม่? และอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย?

          จิตใจ วิญญาณ นี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างละเอียด ต่อความรู้สึก ถ้าเรา เราตีความหมายตามรูปศัพท์ จิต กับ ใจ มีมูลรากมาจากธาตุอันเดียวกัน คือจิตธาตุ เป็นไปในความก่อความสั่งสม แต่ว่าท่านเจ้าพระคุณอุบาลี ท่านอธิบายไว้ว่า ใจ คือส่วนที่เป็นกลาง จิตเป็นอาการที่ใจส่งกระแสออกไปรับรู้อารมณ์ ในเมื่อสัมผัสอารมณ์แต่ละอย่างละอย่าง ก็เป็นจิตแต่ละอย่างละอย่าง แต่ตัวใจเป็นกลางอยู่ตลอดเวลา นี่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลี สิริจันโท อาจารย์ท่านอธิบายเอาไว้อย่างนี้.

          ทีนี้ แหละอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย? ท่านทั้งหลายเรียนมาแล้วว่า ที่เกิดของความคิด อยู่ที่สมอง โดยธรรมชาติของสมองแล้ว ถ้าไม่มีส่วนประกอบ เค้าจะทำอะไรไม่ได้.

อ่า วิญญาณนี่ วิญญาณนี่ ขอตอบเป็น 2 นัย นัยหนึ่ง วิญญาณในขันธ์ 5 หมายถึงอายตนะภายนอก อายตนะภายใน กระทบกันเข้าแล้ว เกิดความรู้สึกขึ้นเรียกว่าวิญญาณ ตามทวารนั้นๆ อันนี้เป็นวิญญาณ ในขันธ์ 5  อีกอันหนึ่งนั้น ปฏิสนธิวิญญาณ คือวิญญาณที่รู้จักจุติและปฏิสนธิ  หมายถึงวิญญาณในปัญหาที่ว่า คนตายแล้วไปเกิดใหม่หรือไม่? ตัวปฏิสนธิวิญญาณนี่ เป็นวิญญาณดั้งเดิม  เมื่อปฏิสนธิวิญญาณนี่มีแต่วิญญาณล้วน ๆ แกจะไม่มีความรู้สึกนึกคิดอะไรทั้งสิ้น และก็ทำอะไรไม่ได้ แต่เมื่อมีส่วนประกอบ คือประสาทในส่วนสมอง หรือมันสมอง เป็นส่วนประกอบแล้ว แกจึงจะมีปฏิกิริยาสร้างความคิดนึกขึ้นมา อันนี่ขอตอบย่อๆเพียงแค่นี้.

ฝากไว้ให้ท่านทั้งหลายพิจารณาต่อไป

เจตสิก คืออะไร? เจตสิกคือ คุณธรรมอันเป็นส่วนประกอบอยู่ในจิตเช่น เราภาวนาแล้ว เกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นเจตสิกประกอบอยู่ในจิต  คุณธรรมอันใดเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของจิต อันนั้นคือเจตสิก  ถ้าจะว่าอีกอย่างหนึ่ง อย่างสมมติว่า จิตกับพุทโธสัมผัสกัน จิตกับพุทโธสัมผัสกันนี่ พุทโธเป็นธรรมารมณ์ 1 จิตเป็นมโน ทีนี้ ทั้ง 2 อย่างนี่ มันมาสัมผัสกันเข้า ก็เรียกว่าการสัมผัส และความรู้สึกว่าสัมผัสนั้นเป็นวิญญาณ  

1https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C

ทีนี้ภาวนา พุทโธ พุทโธ แล้ว เกิดสมาธิขึ้นมา นั่นคือเจตสิก แล้วเกิดปัญญาขึ้นมา นั่นก็คือเจตสิก เกิดสติขึ้นมา นั่นก็คือเจตสิก เกิดศรัทธาเชื่อมั่นขึ้นมา นั่นก็คือเจตสิก อันนี้ขอให้คำตอบอย่างนี้.

ท่านเขียนไว้ในตำราว่า เจตสิกคือสิ่งที่ประกอบกับจิต บางท่านอาจจะเข้าใจว่า จิตนึกถึงรูป แล้วเป็นเจตสิก  ทีนี้จิตนึกถึงรูป มันเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา อันเป็นตัวกิเลส อันนี้เรียกว่า เรียกว่าอกุศลเจตสิก  แต่การสัมผัสรู้ก็สักแต่ว่ารู้ เช่นตาเห็นรูปพั้บรู้ว่ารูป นี่คือวิญญาณ  ความยินดียินร้ายพอใจไม่พอใจในรูปนั้น เป็นอาการของกิเลส นั้นคือเจตสิก อันนี้อีกประเภทหนึ่ง.

ถ้าเป็นคุณธรรมก็คือนักปฏิบัติ สามารถสร้างพละ 5 ขึ้นในจิตได้ มีศรัทธา วิริยะ สตอิ สมาธิ ปัญญา หรือสามารถรวมอริยมรรค ลงเป็นหนึ่ง เรียกว่าเอกายโน มัคโค สติเป็นตัวการ สามารถปฏิวัติจิตไปสู่ภูมิจิต ๓มิธรรมได้ อันนั้นคือเจตสิก.

https://youtu.be/Y4QZXE4e7vc?si=UHGbgPd5ucDL245P

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น